วันพฤหัสบดีที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2558

สมรรถนะ ขีดความสามารถ Competency

Competency
จากทั้งสองภาพข้างต้น McClelland ได้อธิบายในเชิงเปรียบเทียบว่า “ภาพที่ 1” คือ องค์ประกอบที่สําคัญทั้ง 5 ประการของ Competency ในขณะที่ “ภาพที่ 2” เป็นการแบ่งองค์ประกอบของ Competency ตามความยาก-ง่ายของการพัฒนา กล่าวคือ ส่วนที่เป็น Knowledge (ความรู้) และ Skills (ทักษะ) นั้น ถือว่า เป็นส่วนที่คนแต่ละคนสามารถพัฒนาให้มีขึ้นได้ไม้ยากนัก ด้วยการศึกษาค้นคว้า (ทําให้เกิดความรู้ – Knowledge) และ ฝึกฝนปฏิบัติ (ทําให้เกิดทักษะ – Skills) ซึ่งในส่วนนี้นักวิชาการบางท่านเรียกว่า “Hard Skills” ในขณะที่องค์ประกอบส่วนที่เหลือ คือ Self-Concepts (ทัศนคติ ค่านิยม และความเห็นเกี่ยวกับภาพลักษณ์ของตนเอง) รวมทั้ง Trait (บุคลิกลักษณะประจําของแต่ละบุคคล) และ Motive (แรงจูงใจ หรือ แรงขับภายในแต่ละบุคคล) เป็นสิ่งที่พัฒนาได้ยาก เพราะเป็นสิ่งที่ซ้อนอยู่ภายในตัวบุคคล และในส่วนนี้ นักวิชาการบางท่านเรียกว่า “Soft Skills” เช่น ภาวะผู้นํา (Leadership) ความอดทนต่อ ความกดดัน (Stress Tolerance) เป็นต้น
David C. McClelland ได้อธิบายความหมายขององค์ประกอบทั้ง 5 ส่วนไว้ดังนี้
• Skill : สิ่งที่บุคคลกระทําได้ดี และฝึกปฏิบัติเป็นประจําจนเกิดความชํานาญ เช่น ทักษะของหมอฟัน ในการอุดฟัน โดยไม้ทําให้คนไข้รู้สึกเสียวเส้นประสาทหรือเจ็บ
• Knowledge : ความรู้เฉพาะด้านของบุคคล เช่น ความรู้ภาษาอังกฤษ ความรู้ด้านการบริหารต้นทุน เป็นต้น
• Self-Concept : ทัศนคติ ค่านิยม และความคิดเห็นเกี่ยวกับภาพลักษณ์ของตน หรือ สิ่งที่บุคคลเชื่อว่าตนเองเป็น เช่น Self-Confidence คนที่มีความเชื่อมั่นในตนเองสูง จะเชื่อว่าตนเองสามารถแก้ไขปัญหาต่างๆ ได้ เป็นต้น
• Traits : บุคลิกลักษณะประจําตัวของบุคคล หมายถึง ลักษณะนิสัยใจคอของบุคคลที่เป็นพฤติกรรมถาวร เช่น เป็นนักกีฬาที่ดี เป็นคนใจเย็น เป็นคนอ่อนน้อมถ่อมตน เป็นต้น เช่น เขาเป็นคนที่น่าเชื่อถือและ ไว้วางใจได้ หรือเขามีลักษณะเป็นผู้นํา เป็นต้น
• Motives : แรงจูงใจ หรือ แรงขับภายใน หมายถึง พลังขับเคลื่อนที่เกิดจากภายในจิตใจของบุคคล ที่จะส่งผลกระทบต่อการกระทำ เช่น เป็นคนที่มีความต้องการผลสำเร็จ การกระทำสิ่งต่าง ๆ จึงออกมาในลักษณะของการมุ่งไปสู่ความสำเร็จตลอดเวลา เช่น บุคคลที่มุ่งผลสําเร็จ (Achievement Orientation) มักชอบตั้งเป้าหมายที่ทาทาย และพยายามทํางานสําเร็จ ตามเป้าที่ตั้งไว้ ตลอดจนพยายามปรับปรุงวิธีการทํางานของตนเองตลอดเวลา
องค์ประกอบทั้ง 5 ส่วนข้างต้นนี้ ได้กลายมาเป็นแนวทางในการกําหนด “นิยาม” หรือ “ความหมาย” ของ ตํารา Competency มากมาย ตัวอย่างเช่น Scott B. Parry นักวิชาการชื่อดังท่านหนึ่ง ที่หนังสือ Competency หลายเล่ม มักจะนํางานเขียนของท่านมาอ้างอิงถึง ก็ใช้องค์ประกอบ 5 ส่วนของ McClelland มาเป็นแนวทางในการ กําหนด “นิยาม” ของ Competency เช่นกัน แต่เขาได้รวมส่วนที่เป็น Self-Concept และ Trait, Motive ไว้ด้วยกัน และเรียกทั้งหมดนี้ว่า “คุณลักษณะ” หรือ Attributes
Scott B. Parry นิยาม Competency ว่า คือกลุ่มของความรู้ (Knowledge) ทักษะ (Skills) และ คุณลักษณะ (Attributes) ที่เกี่ยวข้อง กัน ซึ่งมีผลกระทบต่องานหลักของตําแหน่งงานหนึ่งๆ ซึ่งกลุ่มความรู้ ทักษะ และคุณลักษณะดังกล่าวสัมพันธกับผลงานของตําแหน่งงานนั้นๆ และสามารถวัดผลเทียบกับมาตรฐานที่เป็นที่ยอมรับ และเป็นสิ่งที่สามารถเสริมสร้างขึ้นได้ โดยผ่านการฝึกอบรม และการพัฒนา”


Read more: http://www.novabizz.com/NovaAce/Competency.htm#ixzz3c9WKh0Ji

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น