วันพฤหัสบดีที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

ตัวอย่างคดีแรงงานที่นายจ้าง ลูกจ้างแพ้คดียับเยิน

วันหยุดพักผ่อนประจำปี บริษัทบอกว่าใครไม่ลาตัดทิ้งทุกปี ลูกจ้างจะฟ้องเรียกให้จ่ายเป็นเงินได้หรือไม่ ? ถ้าได้…ได้ย้อนหลังกี่ปี  ?

·       มาดูกันว่าการตัดพักร้อนทิ้งแบบนี้ นายจ้างแพ้คดีตรงไหน ?

·       แนวคำพิพากษาของศาลในเรื่องแบบนี้ ท่านว่า

วันหยุดพักผ่อนประจำปี ที่นายจ้างไม่จัดให้ ไม่สะสม  ตามมาตรา 30  ไม่จ่ายค่าจ้างให้ ตามมาตรา 56, 64, 67 ให้ลูกจ้างมีสิทธิฟ้องเรียกเงินจากนายจ้างได้ภายในอายุความ 2 ปี ตาม ปพพ มาตรา 193/34 ( 9 ) ตามแนวคำพิพากษาศาลฎีกาแผนกคดีแรงงาน เลขที่  2963-2964/2555
สรุป คือ คนที่ยังทำงานอยู่ก็นับย้อนหลังไป 2 ปีรวมกันว่าตัวเองมีกี่วัน เหลือกี่วันก็ไปฟ้องพนักงานตรวจแรงงานมีคำสั่งให้นายจ้างจ่ายให้  หรือ ไปฟ้องศาลพร้อมดอกเบี้ย 15%ให้ศาลตัดสินให้ก็ได้…
ปีต่อๆ ไป ถ้านายจ้างไม่จ่ายให้อีก ก็ฟ้องทุก 1 ปี 11 เดือนเป็นระยะ ๆ ก็ได้
          สำหรับคนที่ออกไปจากบริษัทเก่าไปแล้วไม่เกิน 2 ปี ถ้าอยากได้เงินใช้เล่น ๆ ก็ฟ้องลูกจ้างแรงงานให้สั่งเจ้านายเก่าจ่ายค่าวันหยุดพักผ่อนประจำปีที่สะสมมาย้อนหลังได้เช่นกัน…555
นายจ้างจะป้องกัน แก้ไขอย่างไร ?
        เรื่องค่าวันหยุดพักผ่อนประจำปีนี้ เป็นเรื่อง..เราควรได้แท้ ๆ แต่พอไปขอก็ไม่ให้..ไปร้องเรียนก็ไล่ออก  เจริญแท้ประเทศไทย
          เรื่องวันหยุดพักผ่อนประจำปี (พักร้อน ) นี้ กฎหมายกำหนดไว้ในมาตรา 30 บอกว่า ให้นายจ้างจัดให้ คนที่ทำงานมาครบ 1 ปี ได้หยุดปีละ 6 วัน
·ไม่มีประโยคไหนเลยที่บอกว่าลูกจ้างลาเองได้
·ที่ให้ลาเองทั่วฟ้าเมืองไทยนั้น แค่อนุโลมเท่านั้น
·ไม่มีข้อความใดระบุว่าไม่หยุดให้ตัดทิ้ง
    ในมาตรา 56 (3 ) บอกว่าให้นายจ้างจ่ายค่าจ้างในวันหยุดพักผ่อนประจำปี มาตรา 64 บอกว่าให้จ่ายเท่ากับค่าทำงานในวันหยุด ทั้งลูกจ้างรายวัน หรือ รายเดือน ได้เหมือนกัน
          อาจจะมีคนสงสัยว่าค่าทำงานวันหยุดให้จ่าย 2  เท่า ทำไมจ่าย 1 เท่าหรือ 1 วัน ก็เพราะว่าสิทธิ 6 วันนั้นลูกจ้างทำงานไปแล้วได้ค่าแรง 1 เท่าไปแล้ว จึงจ่ายเพิ่มให้อีก 1 เท่า รวมเป็น 2 ตามกฎหมายแล้ว

มีท่านนายจ้างยกมือฉายไฟถามมาว่า…มีกฎหมายข้อไหนที่บอกว่าถ้าไม่จัด ไม่สะสม จะต้องจ่ายเงินให้ ?
คำตอบ  ก็จัดเต็มให้เลยครับ….ไปดูมาตรา 56 มาตรา 64 ( ตามที่บอกไว้ข้างต้นแล้ว )

คำถามต่อว่า..คนที่ลาออกเอง ต้องจ่ายไหม ?
คำตอบ  คนที่ลาออกเอง ปีที่ลาออกเองไม่ต้องจ่าย เหตุผลคือ บริษัทอาจจะจัดให้เดือนถัดไป ( เมื่อไหร่ก็ได้)  เขาอยู่ไม่ถึงเอง จึงไม่ต้องจ่าย  แต่ถ้ามีสะสมมาจากปีก่อน ก็จ่ายให้เฉพาะที่สะสมมา ตามมาตรา 67 วรรค 2

คำถามต่อว่า..คนที่ทำผิดร้ายแรง จนถูกไล่ออกต้องจ่ายไหม ?
คำตอบ คือ ของปีนี้ไม่ต้องจ่าย เพราะเขาทำผิดก่อนถึงเดือนที่จะจัดให้ ( เมื่อไหร่ก็ได้ ) ของปีก่อนถ้ามีสะสมมาก็จ่าย ตามมาตรา 67 วรรค 2

คำถามอีกว่า คนที่ถูกเลิกจ้าง แต่ไม่ใช่ความผิดร้ายแรง ต้องจ่ายไหม ?
คำตอบ ก็คือ ให้จ่ายตามสัดส่วน 2 เดือน ต่อ 1 วัน เพราะ เราไม่ให้เขาอยู่ต่อ ตามมาตรา 67 วรรค 1 คำถามว่า…คนที่ออกไปแล้ว จะมีสิทธิฟ้องขอรับค่าพักร้อนได้หรอไม่ ?
คำตอบ   ค่าวันหยุดพักร้อนเป็นค่าจ้างอย่างหนึ่ง มีอายุความฟ้องย้อนหลังได้ 2 ปี ดอกเบี้ย 15%  คนที่ออกไปแล้วถ้านับย้อนหลังตั้งแต่วันออกจนถึงวันนี้ ถ้ายังอยู่ใน 2 ปี  ก็ไปฟ้องศาลหรือฟ้องแรงงานให้สั่งให้นายจ้างจ่ายย้อนหลังได้เช่นกันลูกจ้างยกมือฉายไฟถามมาว่า… ถ้านายจ้างไม่จัด ไม่สะสม ไม่จ่าย จะมีความผิดหรือไม่ ?

คำตอบ ก็ขอบอกพร้อมกันไว้ตรงนี้ว่า….ในมาตรา 146  บอกว่านายจ้างไม่จ่ายเงินค่าทำงานวันหยุดพักผ่อนประจำปีตามมาตรา 56  มีโทษปรับไม่เกิน 20,000 บาท
          มาตรา 144 บอกว่าถ้านายจ้างไม่จัดวันหยุด หรือ จัดไม่ครบ ไม่จ่ายเงินให้ตามมาตรา 64 , 67  มีโทษจำคุก 6 เดือน ปรับไม่เกิน 100,000 บาท  

น่าจะมีการฟ้องให้นายจ้างติดคุกกันซะบ้าง จะได้เข็ด…555

ขอขอบคุณข้อมูลดี ๆ จาก 
ตัวอย่างคดีแรงงานที่นายจ้าง ลูกจ้างแพ้คดียับเยิน
อ.สิทธิศักดิ์ ศรีธรรมวัฒนา
วิทยากรอารมณ์ดี นักเขียน ที่ปรึกษา


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น