วันอังคารที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2555


มีข้อสงสัยที่จะสอบถาม คือ กรณีพนักงานในองค์กรทำผิดระเบียบเช่น ดื่มสุราในเวลาปฏิบัติงานและถูกรายงาน เมื่อมาถึงขั้นตอนของงานบุคคลได้พิจารณาโทษโดยการใช้การหักค่าตอบแทน (หักเงินเดือน)
ไม่มีการบันทึกโทษ สามารถทำได้หรือไม่ และผิดข้อกฎหมายใด ๆ หรือไม่

อยากสอบถามเพื่อเป็นความรู้ในปฏิบัติงานต่อไป

*********************************************************************************

4.4.3       บริษัทฯ จะหักค่าจ้าง, ค่าล่วงเวลา, ค่าทำงานในวันหยุด และค่าล่วงเวลาในวันหยุดในกรณีดังต่อไปนี้
                4.4.3.1    ชำระภาษีเงินได้ตามจำนวนที่พนักงานต้องจ่าย,  ชำระประกันสังคมตามเกณ์ฑที่กฎหมายกำหนดไว้ หรือชำระเงินอื่นตามที่มีกฎหมายบัญญัติไว้โดยได้รับความยินยอมจากพนักงาน
                4.4.3.2    ชำระหนี้สินที่เป็นไปเพื่อสวัสดิการที่เป็นประโยชน์ต่อพนักงานฝ่ายเดียว โดยได้รับความยินยอมจากพนักงาน
                4.4.3.3    เป็นเงินประกันตามมาตรา 10  ตาม พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 และ ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2551 หรือเงินประกันความเสียหายในการทำงานจากพนักงานซึ่งสภาพการทำงานของพนักงานนั้น ต้องรับผิดชอบเกี่ยวกับการเงิน หรือทรัพย์สินของบริษัทฯ  หรือชดใช้ค่าเสียหายให้กับบริษัทฯ ซึ่งพนักงานได้กระทำโดยจงใจ หรือประมาทเลินเล่อ อย่างร้ายแรง โดยได้รับความยินยอมจากพนักงาน
                4.4.3.4    เป็นเงินสะสมตามข้อตกลงเกี่ยวกับกองทุนเงินสะสม ( ถ้ามี ) การหักตาม ข้อ   4.4.3.2,  4.4.3.3 และ 4.4.3.4 ในแต่ละกรณีห้ามมิให้หักเกินร้อยละสิบ และจะหักรวมกันได้ไม่เกินหนึ่งในห้าของเงินค่าจ้าง โดยได้รับความยินยอมจากพนักงานนี่แหละ  ที่บริษัทฯ


 การพิจารณาโทษพนักงานที่กระทำความผิดนั้น ที่ถูกต้องแล้วนายจ้างจะลงโทษได้ตามที่เขียนไว้ในบทกำหนดโทษซึ่งต้องระบุให้ชัดเจนเอาไว้ในข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานเท่านั้น
เช่น
  - ตักเตือนด้วยวาจา
  - ตักเตือนเป็นหนังสือ
  - พักงานโดยไม่จ่ายค่าจ้าง
  - เลิกจ้างโดยไม่จ่ายค่าชดเชย

เป็นต้นครับ

หากพนักงานได้กระทำผิดและมีการสอบสวนให้ความเป็นธรรมแล้ว ถ้าพนักงานผิดจริงก็ลงโทษได้ตามที่เขียนในบทกำหนดโทษไว้เท่านั้น จะไปพิจารณาโทษเป็นอย่างอื่นไม่ได้ครับ
ซึ่งโทษจะหนักหรือเบาก็แล้วแต่มูลฐานความผิดหรือความเสียหายที่เกิดขึ้นกับนายจ้าง

ถ้าหากนายจ้างเขียนบทกำหนดโทษไว้โดยขัดต่อกฎหมาย บทกำหนดโทษที่เขียนไว้จะใช้บังคับไม่ได้และลูกจ้างก็ฟ้องได้ครับ
เช่นหากไปเขียนว่าหักค่าจ้าง อย่างนี้ไม่ได้ครับ เพราะไปขัดต่อมาตรา 76 ( ในมาตรา 76 เค้าห้ามนายจ้างหักค่าจ้างลูกจ้างครับ แต่จะมีข้อยกเว้นว่าหักได้ในกรณีใดได้บ้าง ลองไปอ่านในมาตรา 76
ดูอีกทีนะครับ )
ซึ่งจริง ๆ แล้วหากนายจ้างได้นำสำเนาข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานส่งให้พนักงานตรวจแรงงานตรวจสอบตามมาตรา 108 หรือ 110 แล้ว
พนักงานตรวจแรงงานก็จะให้นายจ้างแก้ไขบทกำหนดโทษหรือระเบียบอื่น ๆ ที่ขัดต่อกฎหมายด้วย
หากนายจ้างมีข้อบังคับแต่ไม่ได้นำสำเนาส่งให้พนักงานตรวจแรงงานตรวจสอบ นายจ้างก็มีความผิดครับ

ดังนั้นในกรณีที่ถามมานี้ ฝ่ายนายจ้างทำผิดแน่นอนตามมาตรา 76 และหากมีเขียนเรื่องการหักค่าจ้างไว้ในบทกำหนดโทษด้วย ข้อบังคับนั้นก็ผิดอีกครับ
หรือหากไม่เขียนไว้แต่ฝ่ายบุคคลได้ลงโทษไปอย่างนี้ก็ยิ่งผิดเข้าไปอีก
และการลงโทษโดยไม่มีเอกสารบันทึกไว้ ก็ผิดอีกครับ
สรุปว่าในกรณีนี้ฝ่ายบุคคลทำผิดทั้งหมดทั้งในแง่ของกฎหมายและการปกครอง

เหตที่เกิดขึ้นนี้ พนักงานมีความผิดจริงครับ เพราะดื่มสุราในสถานที่ทำงานของนายจ้าง  นายจ้างย่อมเอาผิดได้
ซึ่งหากมีผลเสียร้ายแรง นายจ้างมีสิทธิที่จะเลิกจ้างได้ทันทีโดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยด้วยซ้ำ
อย่างเช่น หากเป็นพนักงานรักษาความปลอดภัยอย่างนี้ ถ้าไปดื่มสุรา ถือว่าร้ายแรงมากครับ เลิกจ้างได้ทันที
แต่ถ้าเป็นพนักงานที่ทำงานด้านอื่นที่อาจจะส่งผลเสียหายน้อยกว่า ก็อาจจะไม่ถึงขั้นเลิกจ้างก็ได้ อาจจะแค่ตักเตือนเป็นหนังสือ ถ้าทำผิดซ้ำอีกภานยในระยะเวลา 1 ปีนับแต่วันที่ได้กระทำผิดครั้งแรก
ก็เลิกจ้างได้
หรืออาจจะพักงานโดยไม่จ่ายค่าจ้างไปก่อนก็ได้ครับ
แล้วแต่ดุยพินิจที่พิจารณาไปตามความเหมาะสม

กรณีที่ฝ่ายบุคคลทำผิดอย่างนี้ลูกจ้างสามารถยื่นเรื่องฟ้องนายจ้างได้ครับ

Wachirapong

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น