วันอาทิตย์ที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

ทำน้ำจิ้มกินกันนะเรา

.....วิธีทำ "น้ำจิ้ม" 9แบบ พร้อมอัตราส่วน.....
1. น้ำจิ้มซีฟู๊ด ทานกับอาหารซีฟู๊ด อัตตราส่วนสำหรับ 1 ถ้วยเล็ก
วัตถุดิบ
1.พริกไทยเม็ด 5-8 เม็ด
2.พริกขี้หนูสวน 2 ชต.
3.กระเทียมไทย 1 ชต.
4.น้ำปลา 2.5 ชต.
5.มะนาว 2.5 ชต.
6.น้ำตาลทราย 0.5 ชช.(หากไม่ชอบหวานไม่ต้องใส่)
7.ผงชูรส(หากชอบ) 1/4 ชช.
8.ผงปรุงรสหมู 0.5 ชช.
วิธีทำ
1.ตำพริกไทยให้ละเอียด
2.ใส่พริกและกระเทียมลงตำ
3.ปรุงรส เพิ่มตามตามชอบ
---------------
2. น้ำจิ้มยำมะม่วงไม่ใส่ถั่ว ทานกับปลาสำลีแดดเดียว หรือปลาแดดเดียวหรือตามชอบ อัตตราส่วนสำหรับ 1 ถ้วยใหญ่
วัตถุดิบ
1.น้ำปลา 3-4 ชต.
2.น้ำตาลทรายหรือปี๊บ 2-3 ชต.
3.พริกขี้หนูสวน สับละเอียด 1.5 ชต.
4.หอมแดงซอย 5 หัว
5.มะม่วงซอย 3 ชต.
6.มะนาว 1 ชต.
7.ผักชี
8.ผงชูรส(หากชอบ) 0.5 ชช.
9.ผงปรุงรสหมู 1 ชช.
วิธีทำ
1.ละลายน้ำตาลและน้ำปลาและเครื่องปรุงให้เข้ากัน
2.ใส่หอมแดง มะม่วง และชิมรสตามต้องการ เน้นอย่าเปรียวนำ(เพราะน้ำจากมะม่วงจะทำให้เปรี้ยวมากขึ้น)
3.โรยผักชี
---------------
3.น้ำจิ้มเมี่ยงปลาทู ทานกับเมี่ยงปลาทู เมี่ยงปลาเผา อัตราส่วนสำหรับ1 ถ้วยใหญ่
วัตถุดิบ
1.พริกไทยเม็ด 10-15 เม็ด
2.รากผักชี 4-5 ราก
3.พริกขี้หนูสวน 3-4 ชต.(หากไม่ชอบเผ็ดให้ลดลง)
4.กระเทียมไทย 2-3 ชต.
5.น้ำปลา 3-4 ชต.
6.มะนาว 4-5 ชต.
7.น้ำตาลทราย 2-3 ชต.
8.ผงชูรส(หากชอบ) 1 ชช.
9.ผงปรุงรสหมู 1-2 ชช.
10.ถั่วลิสงคั่ว 5-6 ชต.
วิธีทำ
1.ต้ำพริกไทยให้ละเอียด
2.ใส่รากผักชีลงตำให้ละเอียด
3.ใส่พริก กระเทียมลงตำให้ละเอียด
4.ใส่ถั่วลิสงคั่วลงตำให้ละเอียด
5.ปรุงรสตามชอบ
---------------
4.น้ำจิ้มซีฟู๊ดทานกับปลาลวก ลูกชิ้นปลา อัตตราส่วนสำหรับ 1 ถ้วเล็ก
วัตถุดิบ
1.พริกไทยเม็ด 5-8 เม็ด
2.พริกขี้หนูสวน 2 ชต.
3.กระเทียมไทย 1 ชต.
4.น้ำปลา 1 ชต.
5.มะนาว 2.5 ชต.
6.น้ำตาลทราย 0.5 ชช.(หากไม่ชอบหวานไม่ต้องใส่)
7.ผงชูรส(หากชอบ) 1/4 ชช.
8.ผงปรุงรสหมู 0.5 ชช.
9.เต้าเจี้ยว 1-1.5 ชต.
วิธีทำ
1.ตำพริกไทยให้ละเอียด
2.ใส่พริกและกระเทียมลงตำ
3.ใส่เต้าเจี้ยวลงตำ
4.ปรุงรส เพิ่มตามตามชอบ
--------------
5.น้ำจิ้มยำมะม่วงแบบใส่ถั่ว ทานกับกุ้งฟู ปลาดุกฟูหรือตามชอบ อัตตราส่วนสำหรับ 1 ถ้วยใหญ่
วัตถุดิบ
1.น้ำปลา 3-4 ชต.
2.น้ำตาลทรายหรือปี๊บ 2-3 ชต.
3.พริกขี้หนูสวนสับละเอียด 1.5 ชต.
4.หอมแดงซอย 5 หัว
5.มะม่วงซอย 3 ชต.
6.มะนาว 1 ชต.
7.ผักชี
8.ผงชูรส(หากชอบ) 0.5 ชช.
9.ผงปรุงรสหมู 1 ชช.
10.ถั่วลิสงคั่ว
วิธีทำ
1.ละลายน้ำตาลและน้ำปลาและเครื่องปรุงให้เข้ากัน
2.ใส่หอมแดง มะม่วง และชิมรสตามต้องการ เน้นอย่าเปรียวนำ(เพราะน้ำจากมะม่วงจะทำให้เปรี้ยวมากขึ้น)
3.ใส่ถั่วลิสงคั่วและโรยผักชี
---------------
6.น้ำยำทานกับของทอด เห็ดเข็มทองทอด ผักทอดต่าง ๆ อัตตราส่วนสำหรับ 1 ถ้วยกลาง
วัตถุดิบ
1.น้ำปลา 2 ชต.
2.น้ำตาลทราย 1.5 ชต.
3.พริกขี้หนูสวนสับละเอียด 1 ชขต.
4.หอมแดงซอย 2 ชต.
5.หมูสับรวนสุก 2 ชต.
6.กุ้งสับลวนสุก 2 ชต.
7.น้ำมะนาว 2 ชต.
8.ผงชูรส(หากชอบ) 1/4 ชช.
9.ผงปรุงรสหมู 1 ชช.
10.ผักชี ต้นหอม คื่นช่าย สะระแหน่
วิธีทำ
1.ละลายน้ำตาล น้ำปลา มะนาว เข้าด้วยกัน
2.ใส่หมูและกุ้งลงไป พร้อมปรุงรส ชิมออกรสตามชอบ
3.ใส่หอมซอยและใบผักลง คลุกเคล้าให้เข้ากัน
---------------
7.น้ำจิ้มแจ่ว ทานกับเนื้อย่าง หมูย่าง ฯลฯ อัตตราส่วนสำหรับ 1 ถ้วยเล็ก
วิตถุดิบ
1.น้ำปลา 2 ชต.
2.น้ำตาลปี๊บ 2 ชต.
3.พริกป่น 1 ชต.
4.หอมแดงซอยละเอียด 1 ชต.
5.น้ำมะขาม 2-3 ชต.
6.มะนาว 0.5-1 ชต.
7.ผักชีฝรั่งซอยละเอียด 1-2 ชช.
8.ต้นหอมซอย 1.2 ชช.
9.ผงชูรส(หากชอบ) 1/4 ชช.
10.ผงปรุงรสหมู 0.5-1 ชช.
11.ข้าวคั่ว 1 ชต.
วิธีทำ
1.ละลายน้ำปลาและน้ำตาลให้เข้ากัน
2.เติมน้ำมะขาม พริกป่น และปรุงรส ตามชอบ
3.ใส่หอมซอย ต้นหอมซอย และใบผักชีซอย คนให้เข้ากัน
4.โรยข้าวคั่ว
----------------
8.น้ำจิ้มน้ำส้ม ทานกับขาหมูพะโล้ อัตตราส่วนสำหรับ 1 ถ้วยเล็ก
วิตถุดิบ
1.พริกเหลือง 3-4 เม็ด หั่นหยาบ
2.รากผักชี 2 ราก
3.กระเทียมไทย 8-10 กลีบ
4.เกลือป่น 0.5-1 ชช.
5.น้ำม้มสายชู 2 ชต.
6.น้ำตาลทราย 1-1.5 ชต.
7.ผงชูรส(หากชอบ) 0.5 ชช.
วิธีทำ
1.ตำรากผักชีให้ละเอียด
2.ใส่พริกและกระเทียมลงตำให้ละเอียด
3.ปรุงรส ชิมออกเปรียวนำ และระวังเค็ม
----------------
9.น้ำจิ้มคอหมูย่าง ทานกับคอหมูย่าง อัตตราส่วนสำหรับ 1 ถ้วยเล็ก
1.น้ำปลา 1.1.5 ชต.
2.น้ำตาลปี๊บ 1-1.5 ชต.
3.พริกป่น 1 ชต.
4.น้ำมะขาม 2 ชต.
5.น้ำพริกเผา 1-15. ชช.
6.ผงชูรส(หากชอบ) 1/4 ชช.
8.ผงปรุงรสหมู 1 ชช.
วิธีทำ
1.ละลายน้ำตาลกับน้ำปลาให้เข้ากัน
2.ใส่น้ำมะขามลง พริกป่น พริกเผา ลง คนให้เข้ากัน และปรุงรส ออกเปรี้ยว-หวาน นำ.
ขอบคุณ คุณManop Karist Gatecare จากกลุ่ม ทำอาหารกินเอง

วันพุธที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

นิทานสอนใจ ขอทานกับซาลาเปา

นิทานสอนใจ ขอทานกับซาลาเปา

green-690315_1280
นิทานสอนใจในวันนี้ ผมได้อ่านเจอมาสักพักแล้ว พยายามหาต้นตอว่าใครเป็นผู้เขียน แต่ก็หาไม่เจอ เห็นว่ามีเนื้อหาที่ดี และได้ข้อคิดดีๆ มากมายจากนิทานเรื่องนี้ ก็เลยเอามาเล่าต่อให้อ่านกันครับ ถ้าท่านผู้อ่านท่านไหนทราบชื่อผู้แต่งนิทานเรื่องก็แจ้งมาได้เลยนะครับ ผมจะได้ให้เครดิตกับผู้แต่งครับ
ร้านซาลาเปาร้านหนึ่ง…..กิจการดีมาก มีลูกค้าเข้าร้านตลอดทั้งวัน
วันหนึ่งมีขอทานสวมเสื้อผ้าเก่าๆ ขาดๆ เนื้อตัวสกปรกมาที่ประตูร้าน ทำให้ลูกค้าหลายคนพากันอุดจมูกเดินหนี
ลูกจ้างของร้านก็เข้ามาต่อว่า และเอ่ยปากไล่ไปให้พ้นร้าน แต่ขอทานก็รีบอธิบาย
“คุณครับ ผมไม่ได้มาขอทานหรอกแต่จะมาซื้อซาลาเปา” พร้อมกับเอาเหรียญเศษสตางค์ ออกมานับด้วยสองมือ..
ลูกจ้างรู้สึกรำคาญ ..จึงออกแรงปัด เหรียญทั้งหมด…ตกพื้น !!!
ขอทานตกใจรีบก้มลงเก็บเหรียญบาทบนพื้น แต่หาอย่างไร ก็ขาดไป 1 บาท
เหรียญ 1 บาท นี่…คุณทำตกใช่ไหมครับ” ขอทานเงยหน้ามอง ก็เห็นเถ้าแก่เจ้าของร้าน
เขาไม่กล้าแม้แต่จะรับเงินจากเถ้าแก่ และกำลังจะวิ่งหนีด้วยความลุกลี้ลุกลน แต่ก็ถูกเถ้าแก่เรียกให้หยุด พร้อมพูดว่า…
“ยินดี ต้อนรับครับ คุณลูกค้า!!! ไม่ทราบว่าคุณต้องการ ซาลาเปาไส้อะไรดีครับ”
ขอทานตะลึงอยู่สักพัก จึงตอบกลับไปว่า “ผมอยากได้ซาลาเปาไส้หมู 1 ลูก”
ครับ…กรุณารอสักครู่” แล้วหันไปคีบซาลาเปาไส้หมูออกจากซึ้งมา และยื่นให้ขอทานอย่างนอบน้อม
และหันไปถามลูกจ้างว่า“นี่คือวิธีต้อนรับลูกค้าของเธองั้นหรือ”
“แต่เค้าเป็นแค่ ขอทานคนหนึ่ง” ลูกจ้างอธิบาย
ต่อให้เค้าเป็นขอทาน ก็เป็นลูกค้าของเรา เธอโดนไล่ออกแล้วล่ะ” เถ้าแก่กล่าว
จากนั้น…เรื่องที่ทำให้คนในร้าน ตกใจยิ่งกว่า ก็คือ…เถ้าแก่ให้ขอทานคนนี้ มาเป็นลูกจ้างในร้าน
และเมื่อขอทานคนนี้ ชำระร่างกายจนสะอาดเผยให้เห็นหน้าตาที่หล่อเหลาผิดคาด อีกทั้งยังขยันขันแข็งกลายเป็นผู้ช่วยเจ้าของร้านได้อย่างดี…
ภายหลัง…มีคนถามเถ้าแก่ ด้วยความอยากรู้อยากเห็นว่า…
เถ้าแก่ดูออกได้อย่างไรว่า แท้จริงแล้วขอทานคนนี้ เป็นทองชั้นดี
เถ้าแก่ตอบกลับมาว่า…“ที่จริงแล้วง่ายมาก เขาไม่ได้มาขอซาลาเปากินแต่เขารวบรวมเงินอย่างอยากลำบาก มีเงินแล้วค่อยมาซื้อซาลาเปาของเรา แสดงให้เห็นว่า…
>> เขาเป็นคนที่…เคารพตัวเอง<<
การไม่เคารพผู้อื่น ..หมายถึงการไม่เคารพตัวเอง และ มีเพียงคนที่เคารพตัวเองเท่านั้น .. จึงจะเคารพงานที่ตัวเองทำ

งาน HR ทั้งระบบคือเรื่องเดียวกัน อย่าแยกคิดเป็นส่วนๆ

งาน HR ทั้งระบบคือเรื่องเดียวกัน อย่าแยกคิดเป็นส่วนๆ

human-resources-keys
งาน HR ของบริษัทท่านเป็นอย่างไรครับ เป็นระบบที่เชื่อมต่อกันทั้งหมด หรือเป็นการทำงานแบบแยกส่วนออกจากกัน แล้วไม่มีความเชื่อมโยงถึงกันเลย ในทางหลักการของการบริหารทรัพยากรบุคคลแล้ว เราอาจจะเห็นมีหลายเรื่อง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการสรรหาคัดเลือก การพัฒนาบุคลากร การบริหารค่าจ้างเงินเดือน การบริหารแรงงานสัมพันธ์ ฯลฯ ซึ่งบางองค์กรมองงาน HR แบบแยกส่วนกันจริงๆ จนทำให้เกิดปัญหาตามมามากมาย ที่สำคัญก็คือ ขนาดในฝ่าย HR เองยังมีปัญหา ก็เลยทำให้ไม่ได้รับความเชื่อถือจากหน่วยงานอื่นๆ ในองค์กร
ที่จั่วต้นเรื่องไว้แบบนี้ ก็เนื่องจากเมื่อสองวันก่อนได้มีโอกาสไปคุยกับบริษัทแห่งหนึ่ง ซึ่งเรียกได้ว่ามีปัญหาทางด้านการบริหารทรัพยากรบุคคล และผู้บริหารระดับสูงก็อยากที่จะแก้ไขระบบการบริหาร HR ภายในกันก่อน พอสอบถามลงไปลึกๆ เข้าก็เริ่มเห็นว่ามีปัญหาอย่างที่ผู้บริหารระดับสูงแจ้งมาจริงๆ ปัญหาเหล่านั้นคืออะไรบ้าง
  • ข้อมูลตำแหน่งงาน หรือ JD – Job Description ทางหน่วยงานสรรหาคัดเลือกเป็นคนทำ แต่ไม่มีการกระจายตำแหน่งที่เขียนไว้นี้ให้กับ HR หน่วยงานอื่นๆ ผลก็คือ หน่วยงานบริหารค่าตอบแทน ก็ทำ JD กันขึ้นมาชุดหนึ่ง เพื่อตั้งว่าจะใช้ในการประเมินค่างานตามหลักการที่ได้ไปเรียนมา หน่วยงานฝึกอบรม จะวิเคราะห์ Training Need เชื่อมั้ยครับ ก็มีการเขียน JD กันเองอีก ยิ่งไปกว่านั้นหน่วยงาน Document Control ที่จะทำระบบ ISO ก็มีการเขียน JD ของตำแหน่งงานต่างๆ ในบริษัทอีกเช่นกัน สรุปแล้ว JD ของแต่ละตำแหน่งในบริษัทนี้ มีมากกว่า 3 ฉบับ ทำให้ไม่รู้ว่าควรจะเชื่อฉบับไหนกันแน่
  • ข้อมูลโครงสร้างองค์กร ก็แยกส่วนกันอีก กล่าวคือ ผังโครงสร้างองค์กรก็เป็นหน่วยงาน HRM เป็นคนดูแล แต่ก็ไม่เคยเอาข้อมูลโครงสร้างองค์กรมาใช้ประกอบการจัดระดับงาน ทำให้ระดับงานกับผังโครงสร้างขององค์กรไม่ได้ไปด้วยกัน พนักงานก็ยิ่งงงเข้าไปอีก ไม่รู้ว่าจริงๆ แล้วตำแหน่งของตนเองเรียกว่าอะไร และอยู่ในระดับงานใด พอถามไปที่หน่วยงาน HR ก็ตอบไม่ได้อีก
  • หน่วยงาน HRบางหน่วยที่ต้องทำเรื่องของระบบ Career Path ก็ออกแบบ Career Path ในแบบของตนเอง โดยไม่มีการเชื่อมโยงกับผังองค์กร และผังระดับงานอีกเช่นกัน แยก Career Path ออกมาต่างหาก และสุดท้ายก็ไม่ได้เชื่อมโยงกับระบบค่างาน และระดับงาน รวมทั้งตัวโครงสร้างเงินเดือนอีกเช่นกัน
  • ข้อมูลการบริหารทรัพยากรบุคคล ถูกเก็บแบบกระจัดกระจาย แบบไม่มีศูนย์กลางใดๆ กล่าวคือ ข้อมูลพนักงานที่ผ่านการสรรหาคัดเลือก ก็เก็บไว้ที่หน่วยงานสรรหาคัดเลือก พนักงานเข้ามาทำงาน ถูกส่งไปอบรม หรือพัฒนา ข้อมูลการพัฒนาตรงนี้ก็เก็บไว้ที่หน่วยงานพัฒนาทรัพยากรบุคคล ส่วนข้อมูลการเลื่อนตำแหน่ง เลื่อนระดับงาน ข้อมูลการประเมินผลงาน และข้อมูลเงินเดือนต่างๆ ของพนักงานก็ถูกเก็บไว้ที่หน่วยงานบริหารค่าจ้างเงินเดือน ฯลฯ พอถึงเวลาที่จะต้องใช้ข้อมูลบุคคลมาตัดสินใจในเรื่องต่างๆ ก็หาไม่ได้บ้าง เกี่ยงกันบ้าง หายบ้าง สุดท้ายก็มีปัญหาตามมาในการบริหารทรัพยากรบุคคลของบริษัท
ไม่ทราบว่าท่านผู้อ่านเคยประสบกับปัญหาแบบที่กล่าวมาข้างต้นหรือไม่ครับ
Job-Evaluationในทางปฏิบัติแล้ว ทุกระบบไม่ว่าจะเป็นระบบการผลิต บัญชีการเงิน จัดซื้อ ฯลฯ ล้วนแล้วแต่มีความต่อเนื่องและเชื่อมโยงกันไป ระบบ HR ก็เช่นกัน เวลาที่จะวางระบบ HR ของบริษัท ก็จะต้องมองภาพต่อกันให้เป็นภาพเดียวกันก่อน จากนั้นก็ค่อยแยกภาพเป็นส่วนๆ ให้กับหน่วยงานย่อยไปปฏิบัติ แต่ทุกหน่วยงานย่อยจะต้องเห็นภาพใหญ่อันเดียวกันอยู่เสมอ ระบบถึงจะเดินไปได้อย่างดี
  • เริ่มจากเป้าหมายองค์กรก่อนเลย Mission Vision กลยุทธ์หลักขององค์กรจะต้องทำอะไรบ้าง อนาคตจะต้องเดินไปทางไหน ต้องทำภาพนี้ให้ชัดเจน แล้วภาพของกลยุทธ์หลักขององค์กรมันจะเอามาใช้งานใน HR ได้หลายเรื่อง
  • ออกแบบผังโครงสร้างองค์กรให้สอดคล้องกับแผนกลยุทธ์ที่วางไว้ จะต้องมีลำดับชั้นอย่างไรบ้าง มีฝ่ายอะไรบ้าง แต่ละฝ่ายทำหน้าที่อะไร และต้องมีตำแหน่งอะไรบ้าง เพื่อมาปฏิบัติงานให้บรรลุตามแผนกลยุทธ์ที่วางไว้ ในส่วนนี้เราก็จะได้ ผังองค์กร และได้ JD ของตำแหน่งงาน
  • ออกแบบระบบค่าตอบแทน เราสามารถนำเอาผังองค์กร และ JD ที่ทำไว้เป็นมาตรฐาน ไปประเมินค่างาน และจัดระดับงาน และออกแบบโครงสร้างเงินเดือนและระบบบริหารเงินเดือนได้
  • HR planningออกแบบระบบการพัฒนาพนักงาน โดยเอาผังองค์กร และ JD รวมทั้ง Vision Mission มากำหนดเป็น Core Competency แล้ววางระบบการพัฒนาพนักงานโดยอาศัย Competency ที่กำหนดไว้ได้
  • เอาผังองค์กร JD ระดับงาน มาออกแบบ Career Path สร้างเกณฑ์ในการเลื่อนระดับ จากนั้นก็สามารถนำไปเชื่อมโยงกับระบบโครงสร้างเงินเดือน รวมทั้งเชื่อมโยงกับระบบการพัฒนาพนักงาน เพื่อให้เติบโตไปตามสายอาชีพที่กำหนดไว้ได้เช่นกัน
  • เอา Mission Vision strategy และ JD มากำหนดเป็นตัวชี้วัดผลงานของแต่ละระดับตำแหน่งงานในองค์กร และนำมาใช้ในการบริหารผลงานพนักงานได้ และสุดท้ายก็เอาผลงานมาเชื่อมโยงกับระบบการพัฒนา และระบบการให้รางวัลตอบแทน
  • ฯลฯ
จะเห็นว่า ถ้าเรามองภาพ HR ให้เป็นภาพเดียวกันได้ทั้งหมด แม้ว่าองค์กรของเราจะแบ่งงาน HR ออกเป็นส่วนๆ ก็ตาม เราก็ยังสามารถเชื่อมโยงระบบบริหารจัดการทรัพยากรบุคคลเข้าด้วยกันให้เป็นภาพเดียวกันได้ โดยไม่ขัดแย้งกันเอง
เมื่อ HR เป็นระบบระเบียบมากขึ้น ผู้จัดการสายงาน และพนักงาน ก็สามารถที่จะพึ่งพา HR ได้มากขึ้น มีความเชื่อมั่นในหน่วยงาน HR มากขึ้น แล้วเราก็จะเป็นทั้ง Business Partner และเป็นทั้งที่ปรึกษาให้กับพนักงานทุกคนในองค์กรได้อย่างดีครับ

งบประมาณการฝึกอบรมลดลง ทำให้การพัฒนาพนักงานลดลงด้วยจริงหรือ

งบประมาณการฝึกอบรมลดลง ทำให้การพัฒนาพนักงานลดลงด้วยจริงหรือ

ระยะนี้เป็นช่วงที่มีปัญหาเศรษฐกิจทั้งในประเทศเราเอง และต่างประเทศ องค์กรหลายแห่งเริ่มมีมาตรการรัดเข็มขัด โดยมีการประกาศลดต้นทุนการทำงาน ลดเวลาการทำงาน และที่แรงสุดก็คือ ลดพนักงานลง เพื่อทำให้ธุรกิจยังคงอยู่รอดได้ บางองค์กรอาจจะไม่ได้รับผลกระทบจากปัญหาเศรษฐกิจโดยตรง แต่ก็ได้รับผลกระทบในทางอ้อม ซึ่งก็ต้องระมัดระวังตนเองอยู่พอสมควร ก็เลยเป็นเหตุให้งบประมาณที่ถูกตัดในปีนี้ก็คืองบประมาณทางด้านการบริหารทรัพยากรบุคคล โดยเฉพาะงบประมาณทางด้านการฝึกอบรม
และด้วยเหตุผลนี้เอง ที่ทำให้หลายๆ องค์กรใช้เรื่องของงบประมาณมาเป็นข้ออ้างกับผู้บริหารว่า ก็เพราะไม่มีงบประมาณในการฝึกอบรม ก็เลยทำให้ไม่สามารถที่จะพัฒนาพนักงานได้ เหตุผลนี้ท่านผู้อ่านคิดอย่างไรครับ
ในเรื่องของการพัฒนาทรัพยากรบุคคลนั้น เรายังมีเครื่องมืออีกมากมายครับ ไม่ใช่แค่เพียงการฝึกอบรมเพียงอย่างเดียว จริงๆ แล้วการฝึกอบรมพนักงานนั้นเป็นเครื่องมือที่เหมาะสำหรับ การให้ความรู้ในลักษณะที่ในองค์กรไม่เคยมีมาก่อน และต้องไปหาจากภายนอกเข้ามา รวมทั้งเป็นการเปิดโลกทัศน์ของคนเรียนให้มองเห็นวิธีการปฏิบัติงานขององค์กรอื่นๆ
consultantแต่ถ้าเราต้องการพัฒนาพนักงานในการทำงาน หรือพฤติกรรมบางอย่างที่องค์กรต้องการให้มี เราก็สามารถใช้เครื่องมืออื่นๆ ที่ไม่ใช่การฝึกอบรมก็ได้ เรียกได้ว่า แม้ว่างบประมาณของการฝึกอบรมจะถูกตัดลงไปจนไม่เหลือสักบาท เราก็ยังสามารถที่จะพัฒนาพนักงานในองค์กรได้ด้วยวิธีการอื่นๆ วิธีการเหล่านั้นมีอะไรบ้าง ลองมาดูกันนะครับ
  • On the Job Training วิธีแรกที่ไม่ต้องเสียเงินงบประมาณเลยก็คือ การอบรมแบบทำงานไปด้วย ก็คือ ให้พนักงานที่ทำงานได้รับการฝึกอบรมการทำงานที่หน้างานเลย เรียนรู้วิธีการทำงานไปพร้อมกับการทำงานจริงๆ ซึ่งปกติแล้ว OJT เรามักจะทำกันช่วงที่พนักงานเข้าทำงานกันใหม่ๆ แต่จริงๆ แล้วก็ไม่จำเป็น เพราะเราสามารถประยุกต์ใช้วิธีการนี้ในการพัฒนาพนักงานที่ประสบการณ์ในการทำงานมาแล้วก็ได้เช่นกัน
  • Internal Training เป็นการฝึกอบรมภายใน โดยใช้พนักงานที่มีความรู้ความสามารถในเรื่องนั้นๆ หรือ พนักงานที่มีความสามารถในการเป็นวิทยากรภายในได้ มาเป็นผู้ออกแบบหลักสูตร และให้ความรู้แก่พนักงานภายในบริษัท ซึ่งวิธีการนี้ปัจจุบันหลายองค์กรก็ใช้กันอย่างแพร่หลาย บางหลักสูตรก็ให้พนักงาน หรือวิทยากรภายในคนนี้ ไปศึกษา และเรียนรู้วิธีการที่ถูกต้องมาก่อน จากนั้นก็ให้เขาเป็นผู้ออกแบบ และทำหลักสูตร จากนั้นก็เริ่มวางแผนในการอบรม วิธีนี้ใช้งบประมาณในการอบรมน้อยมาก ถ้าจะมี ก็เป็นงบที่ส่งพนักงานที่เป็นวิทยากรภายในไปอบรมภายนอกมากกว่า แต่จริงๆ ก็ยังมีอีกหลายวิธีที่สามารถเรียนรู้ได้ เพื่อนำความรู้นั้นมาถ่ายทอดต่อกันภายในองค์กร
  • Coacoaching puzzleching วิธีการนี้ เป็นอีกวิธีหนึ่งที่นิยมกันมากขึ้น เป็นวิธีการพัฒนาพนักงานรายบุคคลที่ดี วิธีการก็คือ คนที่เป็นผู้จัดการ หรือหัวหน้างาน สามารถทำตัวเป็น Coach เพื่อสอนแนะการทำงานให้กับลูกน้อง เรื่องของการ Coach นั้นจะไม่เหมือนกับการ on the job training ตรงที่ การ Coach จะต้องมีการกำหนดเรื่องที่จะโค้ช และต้องมีการวางแผนการโค้ชแบบตัวต่อตัว กับพนักงานคนที่เราต้องการจะพัฒนาด้วยวิธีการนี้ ซึ่งถ้าเราทำกันภายในองค์กรก็มักจะเป็นการให้หัวหน้างานโดยตรงเป็นคนโค้ชลูกน้องตนเอง หรือถ้าจะให้ลึกขึ้นกว่านี้ ก็คือ หาพนักงานที่เป็นคนที่มีความรู้ความสามารถ มีบารมี มีประสบการณ์มากพอ เป็นโค้ชภายในองค์กร และทำหน้าที่โค้ชพนักงานภายใน โดยมุ่งเน้นไปที่พนักงานที่เป็น talent ก่อนเลยก็ได้ ด้วยวิธีการโค้ช จะทำให้พนักงานมีพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงไปในทางที่เราต้องการ และทำให้พนักงานมีความมั่นใจและมีความสามารถที่โดดเด่นขึ้นได้อย่างเห็นได้ชัด ถ้าเราโค้ชเขาได้อย่างถูกทาง
  • Self-Development การพัฒนาตนเอง เป็นวิธีการพัฒนาพนักงานโดยให้ตัวพนักงานเองพัฒนาตนเอง ซึ่งวิธีการส่วนใหญ่ก็คือ การมอบหมายให้ไปอ่านหนังสือเรื่องต่างๆ ที่ต้องการให้พัฒนา แล้วก็นัดประชุม เพื่อให้พนักงานคนนั้นมาเล่าให้ฟังว่า ที่อ่านมานั้นได้อะไรบ้าง และจะเอามาพัฒนาการทำงานของตนได้อย่างไรบ้าง
  • Job Assignment การมอบหมายงาน เป็นวิธีการพัฒนาพนักงานอีกวิธีหนึ่งที่ไม่ต้องใช้เงินงบประมาณอะไรเลย เพียงแต่คนที่เป็นหัวหน้าจะต้องมีทักษะในการมอบหมายงาน และทักษะในการบริหารจัดการการทำงานของลูกน้องได้ดี เราสามารถมอบหมายงานที่ท้าทาย ให้กับลูกน้องของตนเองได้ และร่วมกันวางแผนการทำงาน จากนั้นก็ปล่อยให้ไปดำเนินการ และให้มีการประชุมเพื่อทราบความคืบหน้าเป็นระยะๆ ที่สำคัญก็คือ เวลาที่มีการประชุมติดตามงานกัน ก็ให้สอบถามพนักงานเสมอว่า มีปัญหาอะไร แก้ไขอย่างไร และได้เรียนรู้อะไรบ้าง ฯลฯ ซึ่งถือว่าเป็นการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในการทำงานจริงๆ ร่วมกัน ก็ถือเป็นการเรียนรู้และการพัฒนาพนักงานที่ดีได้อีกทางหนึ่ง
จะเห็นว่าแม้ว่างบประมาณในการฝึกอบรมของบริษัทถูกตัดไป แต่เราก็ยังสามารถที่จะพัฒนาพนักงานได้ และวิธีการพัฒนาพนักงานข้างต้นเป็นวิธีการที่ได้ผลมากกว่าการส่งพนักงานไปฝึกอบรมภายนอกเสียอีก ถ้าเราทำกันอย่างถูกต้อง
ไม่มีเงินก็ยังสามารถพัฒนาพนักงานได้ครับขอให้มีความตั้งใจและมีเจตนาที่จะพัฒนาจริงๆ

วันอาทิตย์ที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

ไก่ต้มน้ำปลาสูตรโบราณ

ไก่สด 1 ตัว ไก่บ้านหรือไก่ตอน
(และส่วนต่างๆของไก่ส่วนต่าง ๆ ตามชอบ)
รากผักชีทุบ 2 ราก
ข่าหั่นแว่น 3 แว่น
ตะไคร้ทุบ 2 ต้น
ใบมะกรูด 3 ใบ
น้ำตาลปี๊บ 1 ช้อนโต๊ะ
น้ำปลา 1 ถ้วย
ซอสปรุงรส 1 ถ้วย
ซีอิ๊วดำ 1 ช้อนโต๊ะ
น้ำสำหรับต้ม

วิธีทำ

1. ล้างไก่ให้สะอาด เตรียมไว้

2. ใส่น้ำลงในหม้อ นำไก่ลงไปลวกจนหนังไก่ตึง ตักขึ้นสะเด็ดน้ำ เตรียมไว้

3. ใส่รากผักชี ข่า ตะไคร้ ใบมะกรูด และน้ำตาลปี๊บลงก้นหม้อ วางไก่ทับลงไป เติมน้ำปลา ซอสปรุงรส และซีอิ๊วดำ เทน้ำตามลงไปพอให้ท่วมตัวไก่ ปิดฝา ต้มด้วยไฟอ่อน นานประมาณ 30 นาที – 1 ชั่วโมง (ตามขนาดของไก่) จนสุกทั่ว ตักขึ้นสะเด็ดน้ำ ตัดเป็นชิ้นใส่จาน เสิร์ฟพร้อมน้ำจิ้มสูตรโบราณ

ส่วนผสม (น้ำจิ้มสูตรโบราณ)

พริกขี้หนู ปริมาณตามชอบ
กระเทียม 5 กลีบ
เกลือป่น สำหรับปรุงรส
น้ำส้มสายชู 1 ถ้วย
น้ำตาลปี๊บ 1 ช้อนชา

วิธีทำ

โขลกพริกขี้หนู กระเทียม และเกลือป่นพอหยาบ เติมน้ำส้มสายชู และน้ำตาลปี๊บลงไป คนผสมให้ละลายเข้ากัน ชิมรสตามชอบ ตักใส่ถ้วย เสิร์ฟพร้อมไก่ต้มน้ำปลา

ไก่เป็นไก่ต้มน้ำปลาสูตรนี้ทำง่ายทำขายได้ทำทานเองก็ อร่อยด้วย

วันเสาร์ที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

ท่านอนอันตราย

ท่านอนอันตราย


มนุษย์ใช้เวลานอนนานถึงหนึ่งในสามส่วนของอายุขัย กล่าวคือ

ปกติคนเราจะนอนวันละประมาณ 8 ชั่วโมง

ทารกเกิดใหม่อาจนอนมากกว่า 12 ชั่วโมง

เด็กนอนวันละ 10-12 ชั่วโมง

ผู้ใหญ่นอน 8-10 ชั่วโมง

และเมื่อมีอายุมากขึ้นเวลานอน จะน้อยลงตามลำดับ

การนอนเป็นการพักผ่อนกล้ามเนื้อที่ใช้งานมาตลอดวัน อิริยาบถต่าง ๆ ล้วนใช้กล้ามเนื้อเพื่อต่อสู้กับแรงโน้มถ่วงของโลก
การนอนจึงเป็นท่าที่กล้ามเนื้อได้ผ่อนคลาย และเป็นช่วงที่อวัยวะต่าง ๆ ทำการซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ สร้างสารต่าง ๆ ที่ถูกใช้หมดไปกลับคืนมาเตรียมตัวที่จะทำงานใหม่ เมื่อตื่นนอน

ในยามนอนหลับ สมองจะสร้างสารสื่อและสารช่วยความจำ ระบบภูมิคุ้มกันจะสร้างสารภูมิคุ้มกัน ระบบต่อมไร้ท่อจะสร้างฮอร์โมน การนอนจึงมีความสำคัญมากต่อการดำรงชีวิตที่มีสุขภาพดีทั้งร่างกายและจิตใจ

ในกรณีที่นอนไม่หลับตลอดคืน หรือถูกปลุกให้ตื่นตลอดเวลา ไม่ช้าไม่นานคน ๆ นั้นจะมีสภาพจิตที่ไม่ปกติ กล้ามเนื้อจะปวดเมื่อย เกร็งแข็ง และกินอาหารไม่ได้
ถึงแม้การนอนจะมีความสำคัญมาก แต่การนอนในสภาพแวดล้อมที่ไม่ดี นอนในสถานการณ์ที่ไม่ควรนอน หรือท่านอนที่ไม่เหมาะสมกับสุขภาพของบุคคลผู้นั้น อาจทำให้เป็นโรคหรือผู้ที่เป็นโรคอยู่แล้วอาจทำให้สูญเสียชีวิตจากท่านอนที่ผิดได้
นอนในท่านั่ง

893255-img.rbw3t0.0p


อุบัติเหตุทางรถยนต์หลาย ๆ รายเกิดจากการที่คนขับหลับใน ในเวลาที่นั่งขับรถอยู่ นอกจากนี้การนั่งหลับในรถเมล์จากสภาพจารจรที่ติดขัด หรือนั่งรถในเวลากลางคืน มักจะทำให้เกิดอาการปวดร้าวไปทั่วร่างกาย เนื่องจากร่างกายยังอยู่ในสภาพต่อต้านแรงโน้มถ่วงของโลก อาการที่พบบ่อยคือปวดคอ กระดูกคอเคลื่อนเมื่อรถหยุดกะทันหัน ปวดหลัง มือชา ขาชา มือบวม ขาบวม และปวดข้อเข่า ปวดหัว มึนศีรษะ เมารถ และมีบางรายหน้ามืด เป็นลมได้ เพราะนอกจากเลือดจะสูบฉีดขึ้นสมองไม่พอแล้วในบรรดารถปรับอากาศประจำทาง อากาศที่มาจากช่องลมไม่บริสุทธิ์ ถ้าจำเป็นต้องเดินทางไกลควรมีปลอกคอค้ำไว้ หรือเอาผ้าพันคออย่างหนา เช่น ผ้าขนหนูพันรอบคอไว้ ซึ่งนอกจากจะช่วยไม่ให้คอตก และถูกกระชากเวลานอนหลับแล้วยังรักษาความอบอุ่นของร่างกายได้

ควรใส่ถุงน่องรัดขาไว้เพื่อให้เลือดคั่งที่ขาน้อยลง ในกรณีที่ปรับที่นั่งให้เอนลงได้ ควรยกขาขึ้นไม่ให้ห้อยลงตลอดเวลา


ปัจจุบันเกือบเป็นปกติวิสัยที่คนเรามักเฝ้าดูโทรทัศน์จนหลับไปทั้ง ๆ ที่ยังอยู่ในท่านั่ง ทำให้เกิดอาการปวดต้นคอ ปวดหลัง และเจ็บก้นกบได้

อีกกรณีที่พบบ่อยคือคนเมาเหล้ามักจะนอนหลับไปขณะนั่งอยู่ และแขนอาจจะห้อยลงจากพนักพิงของเก้าอี้ โดยที่รักแร้วางทับอยู่กับสันของพนักเก้าอี้นั้น พอตื่นนอนพบว่าแขนข้างนั้นชาจนไม่มีความรู้สึก และบางครั้งก็ยกแขนไม่ขึ้นเป็นเวลานานหลายวัน เพราะกดถูกหลอดเลือดและเส้นประสาทใต้รักแร้ ทำให้แขนขางนั้นอ่อนแรงลง และสูญเสียความรู้สึกไป ในรายที่รุนแรงมากอาจเป็นอัมพาตของแขนข้างนั้นไปเลย

การนอนหลับในท่านั่ง จึงเป็นท่าที่อันตรายควรหลีกเลี่ยงอย่างยิ่ง

นอนหงาย

893255-img.rbw3t0.2p


ปกตินอนหงายเป็นท่านอนที่คนปกตินิยมนอน ข้อดีคือต้นคอจะอยู่ในแนวเดียวกับร่างกายถ้าไม่หนุนหมอน หรือใช้หมอนต่ำ แต่ถ้าใช้หมอนสูง 2-3 ใบ จะทำให้คอก้มมาข้างหน้าทำให้ปวดคอได้ในท่านอนหงายกะบังลมที่คั่นระหว่างช่องอกและช่องท้องจะทับอยู่บนปอด ทำให้การหายใจค่อนข้างลำบากเมื่อเทียบกับท่านั่ง จึงไม่เหมาะสมกับผู้ที่มีโรคปอด ซึ่งควรหลีกเลี่ยงได้โดยยกส่วนบนของร่างกายให้สูงขึ้นในลักษณะครึ่งนอนครึ่งนั่ง โดยใช้หมอน 2-3 ใบวางรองด้านหลังไว้ หรือยกพื้นเตียงส่วนบนให้สูงขึ้น
893255-img.rbw3t0.3p
ผู้ที่ความดันสูงอาจหายใจลำบากในท่านอนหงาย โดยเฉพาะผู้ที่เป็นโรคหัวใจ การทำงานของหัวใจ จะลำบากในท่านอนหงายราบ เพราะไม่สามารถสูบฉีดเลือดออกจากหัวใจได้ เกิดภาวะหายใจขัด คนที่เป็นโรคหัวใจมักจะต้องลุกขึ้นนั่งหรือยืน จึงหายใจสะดวกขึ้น

พนักงานที่ดีขององค์กร เป็นอย่างไร

พนักงานที่ดีขององค์กร เป็นอย่างไร

bademployees
เมื่อวานได้เขียนเรื่องราวเกี่ยวกับหัวหน้างานที่พนักงานไม่อยากทำงานด้วย ก็มีผู้อ่านหลายท่านได้ให้ความเห็นว่า มองมุมเดียวก็ไม่ดี ซึ่งผมเองก็เห็นด้วยครับว่า หัวหน้างานเองก็อยากที่จะมีลูกน้องที่ดีด้วยเช่นกัน และบางทีการที่หัวหน้าคนนั้นกลายเป็นหัวหน้าที่มีพฤติกรรมที่ไม่ดีก็อาจจะมีสาเหตุมาจาก มีลูกน้องที่ไม่ดีก็เป็นไปได้เช่นกัน
แล้วพนักงานที่ดีที่องค์กรอยากได้ หัวหน้างานอยากมี ต้องมีคุณสมบัติอย่างไรบ้าง เรื่องนี้ปกติก็ไม่ค่อยมีใครเขาพูดหรือเขียนให้อ่านกันมากสักเท่าไหร่ ก็เลยลองรวบรวมจากความคิดเห็นของเหล่าหัวหน้างานที่ผมเคยพูดคุยและได้เก็บข้อมูลด้วยคำถามที่ว่า “ถ้าเป็นไปได้ เราอยากให้ลูกน้องเรามีคุณสมบัติอย่างไรบ้าง” และนี่ก็คือ คำตอบที่ได้มาครับ
  • มีทัศนคติที่ดีในการทำงาน อันดับแรกที่หัวหน้างานเกือบ 100% ตอบมาก็คือ หัวหน้างานอยากได้ลูกน้องที่มีทัศคติในการทำงานที่ดี มองโลกในแง่ดี เปิดใจยอมรับในสิ่งที่ไม่ถูกต้องและยินดีแก้ไขให้ถูกต้อง
  • มีความรับผิดชอบ อันดับที่สอง ที่หัวหน้างานส่วนใหญ่อยากได้ ก็คือ ลูกน้องที่มีความรับผิดชอบ แปลง่าย ก็คือ รับมอบหมายงานมาแล้ว ก็ต้องทำให้ได้ตามที่ตกลงกันไว้ รู้ว่าหน้าที่ของตนเองที่จะต้องทำให้สำเร็จคืออะไร และลงมือทำงานให้เสร็จตามที่ได้รับมอบหมาย
  • มีความมุ่งมั่นตั้งใจ อันดับที่สามก็คือ อยากได้ลูกน้องที่มีความมุ่งมั่น ไม่ย่อท้อต่อปัญหาและอุปสรรคในการทำงาน เวลาที่งานมีปัญหา ก็พยายามหาแนวทางในการแก้ไขปัญหา โดยไม่มานั่งบ่นท้อแท้ ถอดใจ แล้วก็พาลไม่ยอมทำงาน
  • คิดหาแนวทางใหม่ๆ ในการทำงาน อันดับที่ 4 ที่หัวหน้างานให้ความเห็นก็คือ อยากได้ลูกน้องที่มีความคิดต่อยอดในการทำงาน ซึ่งอาจจะไม่ใช่ความคิดสร้างสรรค์ในแนวของการคิดใหม่ๆ แต่ให้มีความคิดที่จะพัฒนา และต่อยอดงานที่ทำอยู่ให้ดีขึ้นอยู่เสมอ ไม่ใช่ทำอะไรแบบไหน ก็ทำไปแบบนั้น เวลาผ่านไปก็ยังคงทำแบบเดิมๆ ไม่มีการพัฒนาหรือเสนอแนวทางที่ดีขึ้น
  • มีน้ำใจ อันดับที่ 5 ก็คือ อยากได้ลูกน้องที่มีน้ำใจ เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ไม่เห็นแก่ตัว ไม่ว่าจะเป็นเรื่องงาน หรือเรื่องส่วนตัวในการทำงาน เวลาที่เสร็จงานของตัวเอง ก็ไปช่วยเพื่อนๆ ทำงานอย่างอื่น โดยเสนอตัวเอง แบบไม่ต้องให้คนอื่นต้องมาเรียก มองผลประโยชน์ของบริษัท ของทีม เป็นที่ตั้ง
นี่คือ 5 อันดับที่ผมเก็บข้อมูลมาได้ ซึ่งอาจจะตรง หรือไม่ตรงกับความคิดของท่านผู้อ่านนะครับ แต่หัวหน้าส่วนใหญ่อยากได้ลูกน้องแบบนี้กันทั้งนั้น ประเด็นก็คือ เราจะทำอย่างไรที่จะได้ลูกน้องแบบนี้เข้ามาทำงานด้วย
  • ต้องมีการกำหนดพฤติกรรมและคุณสมบัติของพนักงานที่ดีของบริษัทไว้ให้ชัดเจน ซึ่งจริงๆ เรื่องนี้ก็คือ การกำหนด core value หรือ Core competency ของพนักงานที่จะมาทำงานกับบริษัทนั่นเอง
  • คัดเลือกพนักงานให้ได้ตาม Competency ที่กำหนดไว้ สิ่งที่ต้องทำให้ได้ก็คือ การเลือกพนักงานให้ได้ตาม Competency ที่เรากำหนดไว้ โดยมีการกำหนดวิธีการ แบบทดสอบ คำถามในการสัมภาษณ์ ฯลฯ เพื่อให้ได้คนในแบบที่เราต้องการ ไม่ใช่แค่มีการกำหนด Competency ไว้โก้ๆ แต่ไม่เคยเอามาใช้ในการบริหารคนเลย
  • พัฒนาพนักงานที่มีอยู่ ให้มีพฤติกรรมหลักตาม Competency ที่กำหนดไว้ และเอามาใช้ในการประเมินผลงานด้วยยิ่งดี
ดังนั้น การที่บริษัทอยากมีพนักงานที่ดี คำว่าพนักงานที่ดี ก็จะมีความแตกต่างกันไปในแต่ละบริษัท เพราะแต่ละที่ย่อมต้องการคนที่มีพฤติกรรมที่แตกต่างกันออกไป พนักงานที่ดีของที่นี่ อาจจะไม่เหมาะกับอีกที่หนึ่งก็ได้ ดังนั้นการที่เราจะอบรมพนักงานของบริษัทว่า พนักงานที่ดีนั้นจะต้องมีคุณสมบัติอย่างไรนั้น ก็ต้องอาศัย Core Competency ของบริษัทเราเองเป็นตัวตั้งต้นก่อน แล้วก็ออกแบบหลักสูตรมาเพื่อที่สอนพนักงานว่า ถ้าเราอยากจะเป็นพนักงานที่ดีของที่นี่ จะต้องทำตัวอย่างไร และต้องมีพฤติกรรมอย่างไร
แล้วเราก็จะมีแนวทางในการสร้างและพัฒนาพนักงานที่ดีในแบบของบริษัทเราได้ เมื่อเราได้พนักงานที่ดี หัวหน้างานก็จะใช้ทักษะในการเป็นหัวหน้างานได้อย่างดี จากนั้นหัวหน้ากับลูกน้องก็จะอยู่ทำงานด้วยกันอย่างมีความสุขตลอดไป (เหมือนนิยาย แต่ก็เป็นเรื่องที่เป็นไปได้นะครับ)

ฝึกอบรมจะให้ได้ผล ต้องทำอย่างไร

เป็นคำถามโลกแตกอีกหนึ่งคำถามที่ CEO ของแต่ละบริษัทมักจะชอบถามหน่วยงาน HR ว่าจะต้องทำอย่างไรให้การฝึกอบรมที่เรามีอยู่นั้น ได้ผลตามเจตนารมณ์ และตามวัตถุประสงค์ของมัน เพราะหลายบริษัทมีการของบประมาณในการฝึกอบรมไว้ แล้วทางผู้บริหารก็มักจะถามเสมอ ว่า งบประมาณที่ให้ไปนั้น ใช้ไปแล้วทางบริษัทจะได้อะไรกลับคืนมา พนักงานจะมีผลงานที่ดีขึ้น จะมีพฤติกรรมที่ดีขึ้นจริงๆ ได้จริงๆ หรือเปล่า
เราชาว HR โดยเฉพาะชาว HRD ทั้งหลาย ที่ทำหน้าที่ในการพัฒนาทรัพยากรบุคคลนั้น เคยวิเคราะห์และหาคำตอบหรือไม่ว่า ทำไมการฝึกอบรมที่เราจัดๆ ไปนั้นส่วนใหญ่มักจะไม่ได้ผลตามที่เราต้องการ ผมเองทำงานในแวดวงนี้มานานพอควร ก็เคยนั่งศึกษา และวิเคราะห์ดูว่า ทำไมองค์กรจ่ายเงินค่าฝึกอบรมเยอะมาก แต่ผลสุดท้ายพนักงานกลุ่มเป้าหมายก็ไม่ได้มีอะไรดีขึ้นไปจากเดิม แถมยังต้องมานั่งอบรมเรื่องเดิมๆ อยู่ตลอด จนบางครั้งคนสอนก็หมดมุกแล้ว พนักงานก็ยังไม่มีการเปลี่ยนแปลงอะไรเลย
  • ไม่เชื่อมโยงการฝึกอบรมให้เข้ากับเป้าหมายขององค์กร คนที่ทำหน้าที่ดูแลเรื่องของการฝึกอบรม ก็ทำหน้าที่ในการหาหลักสูตรดีๆ หาอาจารย์ดีๆ โดยไม่มีการวิเคราะห์และมองเชื่อมโยงไปว่า เป้าหมายขององค์กร ที่กำลังจะไปทั้งระยะสั้นและระยะยาวนั้น ทำให้บริษัทต้องเพิ่มความรู้และทักษะอะไรให้กับพนักงาน ก็เลยทำให้การฝึกอบรมไม่ได้ไปตอบโจทย์งานจริงๆ ของบริษัท ผลก็คือ อบรมมาแล้วไม่ได้ใช้งานจริงๆ กันสักที เพราะงานที่ทำไปทางหนึ่ง และการฝึกอบรมไปอีกทางหนึ่ง
  • ไม่มีการวิเคราะห์พนักงานอย่างจริงจัง อีกประเด็นที่ทำให้การฝึกอบรมไม่สำเร็จจริงๆ ก็คือ หัวหน้างาน ผู้จัดการ ในทุกระดับ ไม่เคยมีการวิเคราะห์จุดแข็งจุดอ่อนของพนักงานกันอย่างจริงๆจังๆ มีแต่นั่งคิดๆ นึกๆ ไปเรื่อยๆ ไม่มีการเอาเรื่องของแบบทดสอบที่เชื่อถือได้มาใช้จริงๆ ไม่มีการนำเอาเรื่องของการประเมินผลงานพนักงานมาประกอบการพัฒนา ประเมินไปก็เชื่ออะไรไม่ได้ว่านี่คือผลงานของพนักงานจริงๆ หรือไม่ ฯลฯ สุดท้ายก็เลยไม่รู้ว่าจริงๆ แล้วพนักงานแต่ละคนจะต้องได้รับการพัฒนาในเรื่องอะไรบ้าง จัดอบรมไปก็ไม่ได้ผลอีกเช่นกัน
  • ไม่พิจารณาสาเหตุที่แท้จริงของผลงานพนักงานที่ออกมาไม่ดี ถ้าเรามองข้ามระบบประเมินผลงานที่ไม่ดีไป หัวหน้างานสักกี่คนที่จะมีการวิเคราะห์ผลงานของพนักงานอย่างจริงจังว่า ที่ออกมาไม่ดีนั้นมาจากสาเหตุอะไร และด้วยสาเหตุที่แตกต่างกันไปนั้น ก็มีวิธีการแก้ไขที่แตกต่างกันไปด้วยเช่นกัน ไม่ใช่แค่เพียงเห็นว่าผลงานของพนักงานไม่ดี ก็เลยตัดสินว่าจะต้องใช้การฝึกอบรมเพื่อพัฒนาให้พนักงานมีผลงานที่ดีขึ้น จริงๆ แล้วสาเหตุที่ทำให้พนักงานทำผลงานออกมาไม่ดีนั้น หลักๆ ก็มีอยู่ 3 ประเด็นก็คือหนึ่งสภาพแวดล้อมในการทำงานทั้งด้านกายภาพ และความรู้สึก สองคือตัวงานมันเองอาจจะไม่ท้าทาย หรือไม่สนุก หรือซับซ้อนมาก และสามก็คือตัวพนักงานเองที่ยังขาดความรู้และทักษะในการทำงาน การฝึกอบรมจะแก้ไขสาเหตุของผลงานแย่ได้เพียงสาเหตุเดียวก็คือ สาเหตุจากตัวพนักงานเอง ไม่ใช่จากสภาพแวดล้อม และจากตัวงาน
  • อบรมแล้วไม่มีการติดตาม และเอาไปใช้งานจริงๆ สาเหตุสุดท้ายที่ทำให้การอบรมไม่ได้ผลก็คือ เวลาที่พนักงานอบรมกลับมาแล้ว หัวหน้างานไม่มีการวางแผนที่จะให้พนักงานคนนั้นเอาความรู้และทักษะที่อบรมมาไปใช้งานจริงในการทำงาน ไม่มีการวางแผน Follow up การอบรม ไม่มีการมอบหมายงานใหม่ให้สอดคล้องกับสิ่งที่อบรมมา ยิ่งไปกว่านั้นหัวหน้างานบางคนพอเจอกับพนักงานที่พยายามที่จะเอาเรื่องที่ไปอบรมมาใช้งานจริงๆ กลับบอกกลับลูกน้องของตนเองว่า “อย่าทฤษฎีไปหน่อยเลย นั่นมันแค่การอบรม กลับมาสู่โลกแห่งความเป็นจริงได้แล้ว” แล้วแบบนี้การฝึกอบรมจะได้ผลได้อย่างไร
ดังนั้นถ้าเราไม่วิเคราะห์ให้ดี ว่าจริงๆ แล้วที่พนักงานทำผลงานออกมาได้ไม่ดีนั้นมีสาเหตุมาจากอะไรกันแน่ แล้วพยายามแก้ไขด้วยการฝึกอบรม ก็จะทำให้การฝึกอบรมที่เราจัดนั้น ไม่ได้ผลอย่างที่เราต้องการแน่นอน
เช่นพนักงานผลงานไม่ดีเพราะว่ามีสาเหตุจากการขาดสภาพแวดล้อมการทำงานที่ดี ขาดแรงจูงใจในการทำงาน หรือ ตัวงานมันเองซ้ำๆ ไปมา เลยเบื่อ ฯลฯ แบบนี้ส่งพนักงานไปฝึกอบรมมากแค่ไหน ก็ไม่มีทางที่จะทำให้ผลงานพนักงานดีขึ้นได้เลยครับ

วันพฤหัสบดีที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

งูสวัสดิ์

คนรักบุญฝากแชร์
‪#‎รักษางูสวัด‬...!!
บอกต่อกันนะคะ ให้เป็นวิทยาทาน โรคนี้รักษายาก...บางทีอาจช่วยคนที่กำลังเป็นอยู่ให้หาย บางคนถึงกับเสียชีวิตเลยค่ะ…!!
มีคุณแม่ท่าน 1 อุ้มลูกอายุ 7 ขวบมาหลบฝนที่หน้าบ้านบ่นว่าคลีนิคหมอปิดเพราะฝนตกร้านขายยาก็ปิดน้องเป็นผื่นปวดแสบคันมากเราเลยขอดูผื่นน้อง…จริงๆแล้วน้องเป็นงูสวัดเกือบรอบอกค่ะก็เลยบอกวิธีทำยาสมุนไพรรักษาเองได้ผลนะคะแม่เราเคยเป็นงูสวัดเราก็รักษาเองง่ายๆ
ดังนี้ค่ะ....!!
1. นำใบหญ้านางเขียว(ที่ใส่แกงหน่อไม้อะนะ) 10ใบ
2. ใบพลูเคี้ยวหมาก3-5ใบ
3. ว่านหางจรเข้หางใหญ่เอาแต่วุ้น2หาง
4. เสลดพังพอนตัวเมีย1-2กำมือ
5. ใบเหงือกปลาหมอ2-3ใบ
6. ข้าวสารเหนียวแช่น้ำนิดหน่อย(เอาทั้งข้าวทั้งน้ำแช่ข้าว)
7. น้ำเย็นหรือน้ำธรรมดา 1-2 แก้ว
‪#‎วิธีทำ‬...!!
1. ล้างสมุนไพรให้สะอาด
2. เอาทั้งหมดปั่นแล้วกรองคั้นเอาแต่น้ำมาทาผื่น
3. เหลือก็แช่เย็นเก็บไว้...!!