วันอาทิตย์ที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

ทำน้ำจิ้มกินกันนะเรา

.....วิธีทำ "น้ำจิ้ม" 9แบบ พร้อมอัตราส่วน.....
1. น้ำจิ้มซีฟู๊ด ทานกับอาหารซีฟู๊ด อัตตราส่วนสำหรับ 1 ถ้วยเล็ก
วัตถุดิบ
1.พริกไทยเม็ด 5-8 เม็ด
2.พริกขี้หนูสวน 2 ชต.
3.กระเทียมไทย 1 ชต.
4.น้ำปลา 2.5 ชต.
5.มะนาว 2.5 ชต.
6.น้ำตาลทราย 0.5 ชช.(หากไม่ชอบหวานไม่ต้องใส่)
7.ผงชูรส(หากชอบ) 1/4 ชช.
8.ผงปรุงรสหมู 0.5 ชช.
วิธีทำ
1.ตำพริกไทยให้ละเอียด
2.ใส่พริกและกระเทียมลงตำ
3.ปรุงรส เพิ่มตามตามชอบ
---------------
2. น้ำจิ้มยำมะม่วงไม่ใส่ถั่ว ทานกับปลาสำลีแดดเดียว หรือปลาแดดเดียวหรือตามชอบ อัตตราส่วนสำหรับ 1 ถ้วยใหญ่
วัตถุดิบ
1.น้ำปลา 3-4 ชต.
2.น้ำตาลทรายหรือปี๊บ 2-3 ชต.
3.พริกขี้หนูสวน สับละเอียด 1.5 ชต.
4.หอมแดงซอย 5 หัว
5.มะม่วงซอย 3 ชต.
6.มะนาว 1 ชต.
7.ผักชี
8.ผงชูรส(หากชอบ) 0.5 ชช.
9.ผงปรุงรสหมู 1 ชช.
วิธีทำ
1.ละลายน้ำตาลและน้ำปลาและเครื่องปรุงให้เข้ากัน
2.ใส่หอมแดง มะม่วง และชิมรสตามต้องการ เน้นอย่าเปรียวนำ(เพราะน้ำจากมะม่วงจะทำให้เปรี้ยวมากขึ้น)
3.โรยผักชี
---------------
3.น้ำจิ้มเมี่ยงปลาทู ทานกับเมี่ยงปลาทู เมี่ยงปลาเผา อัตราส่วนสำหรับ1 ถ้วยใหญ่
วัตถุดิบ
1.พริกไทยเม็ด 10-15 เม็ด
2.รากผักชี 4-5 ราก
3.พริกขี้หนูสวน 3-4 ชต.(หากไม่ชอบเผ็ดให้ลดลง)
4.กระเทียมไทย 2-3 ชต.
5.น้ำปลา 3-4 ชต.
6.มะนาว 4-5 ชต.
7.น้ำตาลทราย 2-3 ชต.
8.ผงชูรส(หากชอบ) 1 ชช.
9.ผงปรุงรสหมู 1-2 ชช.
10.ถั่วลิสงคั่ว 5-6 ชต.
วิธีทำ
1.ต้ำพริกไทยให้ละเอียด
2.ใส่รากผักชีลงตำให้ละเอียด
3.ใส่พริก กระเทียมลงตำให้ละเอียด
4.ใส่ถั่วลิสงคั่วลงตำให้ละเอียด
5.ปรุงรสตามชอบ
---------------
4.น้ำจิ้มซีฟู๊ดทานกับปลาลวก ลูกชิ้นปลา อัตตราส่วนสำหรับ 1 ถ้วเล็ก
วัตถุดิบ
1.พริกไทยเม็ด 5-8 เม็ด
2.พริกขี้หนูสวน 2 ชต.
3.กระเทียมไทย 1 ชต.
4.น้ำปลา 1 ชต.
5.มะนาว 2.5 ชต.
6.น้ำตาลทราย 0.5 ชช.(หากไม่ชอบหวานไม่ต้องใส่)
7.ผงชูรส(หากชอบ) 1/4 ชช.
8.ผงปรุงรสหมู 0.5 ชช.
9.เต้าเจี้ยว 1-1.5 ชต.
วิธีทำ
1.ตำพริกไทยให้ละเอียด
2.ใส่พริกและกระเทียมลงตำ
3.ใส่เต้าเจี้ยวลงตำ
4.ปรุงรส เพิ่มตามตามชอบ
--------------
5.น้ำจิ้มยำมะม่วงแบบใส่ถั่ว ทานกับกุ้งฟู ปลาดุกฟูหรือตามชอบ อัตตราส่วนสำหรับ 1 ถ้วยใหญ่
วัตถุดิบ
1.น้ำปลา 3-4 ชต.
2.น้ำตาลทรายหรือปี๊บ 2-3 ชต.
3.พริกขี้หนูสวนสับละเอียด 1.5 ชต.
4.หอมแดงซอย 5 หัว
5.มะม่วงซอย 3 ชต.
6.มะนาว 1 ชต.
7.ผักชี
8.ผงชูรส(หากชอบ) 0.5 ชช.
9.ผงปรุงรสหมู 1 ชช.
10.ถั่วลิสงคั่ว
วิธีทำ
1.ละลายน้ำตาลและน้ำปลาและเครื่องปรุงให้เข้ากัน
2.ใส่หอมแดง มะม่วง และชิมรสตามต้องการ เน้นอย่าเปรียวนำ(เพราะน้ำจากมะม่วงจะทำให้เปรี้ยวมากขึ้น)
3.ใส่ถั่วลิสงคั่วและโรยผักชี
---------------
6.น้ำยำทานกับของทอด เห็ดเข็มทองทอด ผักทอดต่าง ๆ อัตตราส่วนสำหรับ 1 ถ้วยกลาง
วัตถุดิบ
1.น้ำปลา 2 ชต.
2.น้ำตาลทราย 1.5 ชต.
3.พริกขี้หนูสวนสับละเอียด 1 ชขต.
4.หอมแดงซอย 2 ชต.
5.หมูสับรวนสุก 2 ชต.
6.กุ้งสับลวนสุก 2 ชต.
7.น้ำมะนาว 2 ชต.
8.ผงชูรส(หากชอบ) 1/4 ชช.
9.ผงปรุงรสหมู 1 ชช.
10.ผักชี ต้นหอม คื่นช่าย สะระแหน่
วิธีทำ
1.ละลายน้ำตาล น้ำปลา มะนาว เข้าด้วยกัน
2.ใส่หมูและกุ้งลงไป พร้อมปรุงรส ชิมออกรสตามชอบ
3.ใส่หอมซอยและใบผักลง คลุกเคล้าให้เข้ากัน
---------------
7.น้ำจิ้มแจ่ว ทานกับเนื้อย่าง หมูย่าง ฯลฯ อัตตราส่วนสำหรับ 1 ถ้วยเล็ก
วิตถุดิบ
1.น้ำปลา 2 ชต.
2.น้ำตาลปี๊บ 2 ชต.
3.พริกป่น 1 ชต.
4.หอมแดงซอยละเอียด 1 ชต.
5.น้ำมะขาม 2-3 ชต.
6.มะนาว 0.5-1 ชต.
7.ผักชีฝรั่งซอยละเอียด 1-2 ชช.
8.ต้นหอมซอย 1.2 ชช.
9.ผงชูรส(หากชอบ) 1/4 ชช.
10.ผงปรุงรสหมู 0.5-1 ชช.
11.ข้าวคั่ว 1 ชต.
วิธีทำ
1.ละลายน้ำปลาและน้ำตาลให้เข้ากัน
2.เติมน้ำมะขาม พริกป่น และปรุงรส ตามชอบ
3.ใส่หอมซอย ต้นหอมซอย และใบผักชีซอย คนให้เข้ากัน
4.โรยข้าวคั่ว
----------------
8.น้ำจิ้มน้ำส้ม ทานกับขาหมูพะโล้ อัตตราส่วนสำหรับ 1 ถ้วยเล็ก
วิตถุดิบ
1.พริกเหลือง 3-4 เม็ด หั่นหยาบ
2.รากผักชี 2 ราก
3.กระเทียมไทย 8-10 กลีบ
4.เกลือป่น 0.5-1 ชช.
5.น้ำม้มสายชู 2 ชต.
6.น้ำตาลทราย 1-1.5 ชต.
7.ผงชูรส(หากชอบ) 0.5 ชช.
วิธีทำ
1.ตำรากผักชีให้ละเอียด
2.ใส่พริกและกระเทียมลงตำให้ละเอียด
3.ปรุงรส ชิมออกเปรียวนำ และระวังเค็ม
----------------
9.น้ำจิ้มคอหมูย่าง ทานกับคอหมูย่าง อัตตราส่วนสำหรับ 1 ถ้วยเล็ก
1.น้ำปลา 1.1.5 ชต.
2.น้ำตาลปี๊บ 1-1.5 ชต.
3.พริกป่น 1 ชต.
4.น้ำมะขาม 2 ชต.
5.น้ำพริกเผา 1-15. ชช.
6.ผงชูรส(หากชอบ) 1/4 ชช.
8.ผงปรุงรสหมู 1 ชช.
วิธีทำ
1.ละลายน้ำตาลกับน้ำปลาให้เข้ากัน
2.ใส่น้ำมะขามลง พริกป่น พริกเผา ลง คนให้เข้ากัน และปรุงรส ออกเปรี้ยว-หวาน นำ.
ขอบคุณ คุณManop Karist Gatecare จากกลุ่ม ทำอาหารกินเอง

วันพุธที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

นิทานสอนใจ ขอทานกับซาลาเปา

นิทานสอนใจ ขอทานกับซาลาเปา

green-690315_1280
นิทานสอนใจในวันนี้ ผมได้อ่านเจอมาสักพักแล้ว พยายามหาต้นตอว่าใครเป็นผู้เขียน แต่ก็หาไม่เจอ เห็นว่ามีเนื้อหาที่ดี และได้ข้อคิดดีๆ มากมายจากนิทานเรื่องนี้ ก็เลยเอามาเล่าต่อให้อ่านกันครับ ถ้าท่านผู้อ่านท่านไหนทราบชื่อผู้แต่งนิทานเรื่องก็แจ้งมาได้เลยนะครับ ผมจะได้ให้เครดิตกับผู้แต่งครับ
ร้านซาลาเปาร้านหนึ่ง…..กิจการดีมาก มีลูกค้าเข้าร้านตลอดทั้งวัน
วันหนึ่งมีขอทานสวมเสื้อผ้าเก่าๆ ขาดๆ เนื้อตัวสกปรกมาที่ประตูร้าน ทำให้ลูกค้าหลายคนพากันอุดจมูกเดินหนี
ลูกจ้างของร้านก็เข้ามาต่อว่า และเอ่ยปากไล่ไปให้พ้นร้าน แต่ขอทานก็รีบอธิบาย
“คุณครับ ผมไม่ได้มาขอทานหรอกแต่จะมาซื้อซาลาเปา” พร้อมกับเอาเหรียญเศษสตางค์ ออกมานับด้วยสองมือ..
ลูกจ้างรู้สึกรำคาญ ..จึงออกแรงปัด เหรียญทั้งหมด…ตกพื้น !!!
ขอทานตกใจรีบก้มลงเก็บเหรียญบาทบนพื้น แต่หาอย่างไร ก็ขาดไป 1 บาท
เหรียญ 1 บาท นี่…คุณทำตกใช่ไหมครับ” ขอทานเงยหน้ามอง ก็เห็นเถ้าแก่เจ้าของร้าน
เขาไม่กล้าแม้แต่จะรับเงินจากเถ้าแก่ และกำลังจะวิ่งหนีด้วยความลุกลี้ลุกลน แต่ก็ถูกเถ้าแก่เรียกให้หยุด พร้อมพูดว่า…
“ยินดี ต้อนรับครับ คุณลูกค้า!!! ไม่ทราบว่าคุณต้องการ ซาลาเปาไส้อะไรดีครับ”
ขอทานตะลึงอยู่สักพัก จึงตอบกลับไปว่า “ผมอยากได้ซาลาเปาไส้หมู 1 ลูก”
ครับ…กรุณารอสักครู่” แล้วหันไปคีบซาลาเปาไส้หมูออกจากซึ้งมา และยื่นให้ขอทานอย่างนอบน้อม
และหันไปถามลูกจ้างว่า“นี่คือวิธีต้อนรับลูกค้าของเธองั้นหรือ”
“แต่เค้าเป็นแค่ ขอทานคนหนึ่ง” ลูกจ้างอธิบาย
ต่อให้เค้าเป็นขอทาน ก็เป็นลูกค้าของเรา เธอโดนไล่ออกแล้วล่ะ” เถ้าแก่กล่าว
จากนั้น…เรื่องที่ทำให้คนในร้าน ตกใจยิ่งกว่า ก็คือ…เถ้าแก่ให้ขอทานคนนี้ มาเป็นลูกจ้างในร้าน
และเมื่อขอทานคนนี้ ชำระร่างกายจนสะอาดเผยให้เห็นหน้าตาที่หล่อเหลาผิดคาด อีกทั้งยังขยันขันแข็งกลายเป็นผู้ช่วยเจ้าของร้านได้อย่างดี…
ภายหลัง…มีคนถามเถ้าแก่ ด้วยความอยากรู้อยากเห็นว่า…
เถ้าแก่ดูออกได้อย่างไรว่า แท้จริงแล้วขอทานคนนี้ เป็นทองชั้นดี
เถ้าแก่ตอบกลับมาว่า…“ที่จริงแล้วง่ายมาก เขาไม่ได้มาขอซาลาเปากินแต่เขารวบรวมเงินอย่างอยากลำบาก มีเงินแล้วค่อยมาซื้อซาลาเปาของเรา แสดงให้เห็นว่า…
>> เขาเป็นคนที่…เคารพตัวเอง<<
การไม่เคารพผู้อื่น ..หมายถึงการไม่เคารพตัวเอง และ มีเพียงคนที่เคารพตัวเองเท่านั้น .. จึงจะเคารพงานที่ตัวเองทำ

งาน HR ทั้งระบบคือเรื่องเดียวกัน อย่าแยกคิดเป็นส่วนๆ

งาน HR ทั้งระบบคือเรื่องเดียวกัน อย่าแยกคิดเป็นส่วนๆ

human-resources-keys
งาน HR ของบริษัทท่านเป็นอย่างไรครับ เป็นระบบที่เชื่อมต่อกันทั้งหมด หรือเป็นการทำงานแบบแยกส่วนออกจากกัน แล้วไม่มีความเชื่อมโยงถึงกันเลย ในทางหลักการของการบริหารทรัพยากรบุคคลแล้ว เราอาจจะเห็นมีหลายเรื่อง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการสรรหาคัดเลือก การพัฒนาบุคลากร การบริหารค่าจ้างเงินเดือน การบริหารแรงงานสัมพันธ์ ฯลฯ ซึ่งบางองค์กรมองงาน HR แบบแยกส่วนกันจริงๆ จนทำให้เกิดปัญหาตามมามากมาย ที่สำคัญก็คือ ขนาดในฝ่าย HR เองยังมีปัญหา ก็เลยทำให้ไม่ได้รับความเชื่อถือจากหน่วยงานอื่นๆ ในองค์กร
ที่จั่วต้นเรื่องไว้แบบนี้ ก็เนื่องจากเมื่อสองวันก่อนได้มีโอกาสไปคุยกับบริษัทแห่งหนึ่ง ซึ่งเรียกได้ว่ามีปัญหาทางด้านการบริหารทรัพยากรบุคคล และผู้บริหารระดับสูงก็อยากที่จะแก้ไขระบบการบริหาร HR ภายในกันก่อน พอสอบถามลงไปลึกๆ เข้าก็เริ่มเห็นว่ามีปัญหาอย่างที่ผู้บริหารระดับสูงแจ้งมาจริงๆ ปัญหาเหล่านั้นคืออะไรบ้าง
  • ข้อมูลตำแหน่งงาน หรือ JD – Job Description ทางหน่วยงานสรรหาคัดเลือกเป็นคนทำ แต่ไม่มีการกระจายตำแหน่งที่เขียนไว้นี้ให้กับ HR หน่วยงานอื่นๆ ผลก็คือ หน่วยงานบริหารค่าตอบแทน ก็ทำ JD กันขึ้นมาชุดหนึ่ง เพื่อตั้งว่าจะใช้ในการประเมินค่างานตามหลักการที่ได้ไปเรียนมา หน่วยงานฝึกอบรม จะวิเคราะห์ Training Need เชื่อมั้ยครับ ก็มีการเขียน JD กันเองอีก ยิ่งไปกว่านั้นหน่วยงาน Document Control ที่จะทำระบบ ISO ก็มีการเขียน JD ของตำแหน่งงานต่างๆ ในบริษัทอีกเช่นกัน สรุปแล้ว JD ของแต่ละตำแหน่งในบริษัทนี้ มีมากกว่า 3 ฉบับ ทำให้ไม่รู้ว่าควรจะเชื่อฉบับไหนกันแน่
  • ข้อมูลโครงสร้างองค์กร ก็แยกส่วนกันอีก กล่าวคือ ผังโครงสร้างองค์กรก็เป็นหน่วยงาน HRM เป็นคนดูแล แต่ก็ไม่เคยเอาข้อมูลโครงสร้างองค์กรมาใช้ประกอบการจัดระดับงาน ทำให้ระดับงานกับผังโครงสร้างขององค์กรไม่ได้ไปด้วยกัน พนักงานก็ยิ่งงงเข้าไปอีก ไม่รู้ว่าจริงๆ แล้วตำแหน่งของตนเองเรียกว่าอะไร และอยู่ในระดับงานใด พอถามไปที่หน่วยงาน HR ก็ตอบไม่ได้อีก
  • หน่วยงาน HRบางหน่วยที่ต้องทำเรื่องของระบบ Career Path ก็ออกแบบ Career Path ในแบบของตนเอง โดยไม่มีการเชื่อมโยงกับผังองค์กร และผังระดับงานอีกเช่นกัน แยก Career Path ออกมาต่างหาก และสุดท้ายก็ไม่ได้เชื่อมโยงกับระบบค่างาน และระดับงาน รวมทั้งตัวโครงสร้างเงินเดือนอีกเช่นกัน
  • ข้อมูลการบริหารทรัพยากรบุคคล ถูกเก็บแบบกระจัดกระจาย แบบไม่มีศูนย์กลางใดๆ กล่าวคือ ข้อมูลพนักงานที่ผ่านการสรรหาคัดเลือก ก็เก็บไว้ที่หน่วยงานสรรหาคัดเลือก พนักงานเข้ามาทำงาน ถูกส่งไปอบรม หรือพัฒนา ข้อมูลการพัฒนาตรงนี้ก็เก็บไว้ที่หน่วยงานพัฒนาทรัพยากรบุคคล ส่วนข้อมูลการเลื่อนตำแหน่ง เลื่อนระดับงาน ข้อมูลการประเมินผลงาน และข้อมูลเงินเดือนต่างๆ ของพนักงานก็ถูกเก็บไว้ที่หน่วยงานบริหารค่าจ้างเงินเดือน ฯลฯ พอถึงเวลาที่จะต้องใช้ข้อมูลบุคคลมาตัดสินใจในเรื่องต่างๆ ก็หาไม่ได้บ้าง เกี่ยงกันบ้าง หายบ้าง สุดท้ายก็มีปัญหาตามมาในการบริหารทรัพยากรบุคคลของบริษัท
ไม่ทราบว่าท่านผู้อ่านเคยประสบกับปัญหาแบบที่กล่าวมาข้างต้นหรือไม่ครับ
Job-Evaluationในทางปฏิบัติแล้ว ทุกระบบไม่ว่าจะเป็นระบบการผลิต บัญชีการเงิน จัดซื้อ ฯลฯ ล้วนแล้วแต่มีความต่อเนื่องและเชื่อมโยงกันไป ระบบ HR ก็เช่นกัน เวลาที่จะวางระบบ HR ของบริษัท ก็จะต้องมองภาพต่อกันให้เป็นภาพเดียวกันก่อน จากนั้นก็ค่อยแยกภาพเป็นส่วนๆ ให้กับหน่วยงานย่อยไปปฏิบัติ แต่ทุกหน่วยงานย่อยจะต้องเห็นภาพใหญ่อันเดียวกันอยู่เสมอ ระบบถึงจะเดินไปได้อย่างดี
  • เริ่มจากเป้าหมายองค์กรก่อนเลย Mission Vision กลยุทธ์หลักขององค์กรจะต้องทำอะไรบ้าง อนาคตจะต้องเดินไปทางไหน ต้องทำภาพนี้ให้ชัดเจน แล้วภาพของกลยุทธ์หลักขององค์กรมันจะเอามาใช้งานใน HR ได้หลายเรื่อง
  • ออกแบบผังโครงสร้างองค์กรให้สอดคล้องกับแผนกลยุทธ์ที่วางไว้ จะต้องมีลำดับชั้นอย่างไรบ้าง มีฝ่ายอะไรบ้าง แต่ละฝ่ายทำหน้าที่อะไร และต้องมีตำแหน่งอะไรบ้าง เพื่อมาปฏิบัติงานให้บรรลุตามแผนกลยุทธ์ที่วางไว้ ในส่วนนี้เราก็จะได้ ผังองค์กร และได้ JD ของตำแหน่งงาน
  • ออกแบบระบบค่าตอบแทน เราสามารถนำเอาผังองค์กร และ JD ที่ทำไว้เป็นมาตรฐาน ไปประเมินค่างาน และจัดระดับงาน และออกแบบโครงสร้างเงินเดือนและระบบบริหารเงินเดือนได้
  • HR planningออกแบบระบบการพัฒนาพนักงาน โดยเอาผังองค์กร และ JD รวมทั้ง Vision Mission มากำหนดเป็น Core Competency แล้ววางระบบการพัฒนาพนักงานโดยอาศัย Competency ที่กำหนดไว้ได้
  • เอาผังองค์กร JD ระดับงาน มาออกแบบ Career Path สร้างเกณฑ์ในการเลื่อนระดับ จากนั้นก็สามารถนำไปเชื่อมโยงกับระบบโครงสร้างเงินเดือน รวมทั้งเชื่อมโยงกับระบบการพัฒนาพนักงาน เพื่อให้เติบโตไปตามสายอาชีพที่กำหนดไว้ได้เช่นกัน
  • เอา Mission Vision strategy และ JD มากำหนดเป็นตัวชี้วัดผลงานของแต่ละระดับตำแหน่งงานในองค์กร และนำมาใช้ในการบริหารผลงานพนักงานได้ และสุดท้ายก็เอาผลงานมาเชื่อมโยงกับระบบการพัฒนา และระบบการให้รางวัลตอบแทน
  • ฯลฯ
จะเห็นว่า ถ้าเรามองภาพ HR ให้เป็นภาพเดียวกันได้ทั้งหมด แม้ว่าองค์กรของเราจะแบ่งงาน HR ออกเป็นส่วนๆ ก็ตาม เราก็ยังสามารถเชื่อมโยงระบบบริหารจัดการทรัพยากรบุคคลเข้าด้วยกันให้เป็นภาพเดียวกันได้ โดยไม่ขัดแย้งกันเอง
เมื่อ HR เป็นระบบระเบียบมากขึ้น ผู้จัดการสายงาน และพนักงาน ก็สามารถที่จะพึ่งพา HR ได้มากขึ้น มีความเชื่อมั่นในหน่วยงาน HR มากขึ้น แล้วเราก็จะเป็นทั้ง Business Partner และเป็นทั้งที่ปรึกษาให้กับพนักงานทุกคนในองค์กรได้อย่างดีครับ

งบประมาณการฝึกอบรมลดลง ทำให้การพัฒนาพนักงานลดลงด้วยจริงหรือ

งบประมาณการฝึกอบรมลดลง ทำให้การพัฒนาพนักงานลดลงด้วยจริงหรือ

ระยะนี้เป็นช่วงที่มีปัญหาเศรษฐกิจทั้งในประเทศเราเอง และต่างประเทศ องค์กรหลายแห่งเริ่มมีมาตรการรัดเข็มขัด โดยมีการประกาศลดต้นทุนการทำงาน ลดเวลาการทำงาน และที่แรงสุดก็คือ ลดพนักงานลง เพื่อทำให้ธุรกิจยังคงอยู่รอดได้ บางองค์กรอาจจะไม่ได้รับผลกระทบจากปัญหาเศรษฐกิจโดยตรง แต่ก็ได้รับผลกระทบในทางอ้อม ซึ่งก็ต้องระมัดระวังตนเองอยู่พอสมควร ก็เลยเป็นเหตุให้งบประมาณที่ถูกตัดในปีนี้ก็คืองบประมาณทางด้านการบริหารทรัพยากรบุคคล โดยเฉพาะงบประมาณทางด้านการฝึกอบรม
และด้วยเหตุผลนี้เอง ที่ทำให้หลายๆ องค์กรใช้เรื่องของงบประมาณมาเป็นข้ออ้างกับผู้บริหารว่า ก็เพราะไม่มีงบประมาณในการฝึกอบรม ก็เลยทำให้ไม่สามารถที่จะพัฒนาพนักงานได้ เหตุผลนี้ท่านผู้อ่านคิดอย่างไรครับ
ในเรื่องของการพัฒนาทรัพยากรบุคคลนั้น เรายังมีเครื่องมืออีกมากมายครับ ไม่ใช่แค่เพียงการฝึกอบรมเพียงอย่างเดียว จริงๆ แล้วการฝึกอบรมพนักงานนั้นเป็นเครื่องมือที่เหมาะสำหรับ การให้ความรู้ในลักษณะที่ในองค์กรไม่เคยมีมาก่อน และต้องไปหาจากภายนอกเข้ามา รวมทั้งเป็นการเปิดโลกทัศน์ของคนเรียนให้มองเห็นวิธีการปฏิบัติงานขององค์กรอื่นๆ
consultantแต่ถ้าเราต้องการพัฒนาพนักงานในการทำงาน หรือพฤติกรรมบางอย่างที่องค์กรต้องการให้มี เราก็สามารถใช้เครื่องมืออื่นๆ ที่ไม่ใช่การฝึกอบรมก็ได้ เรียกได้ว่า แม้ว่างบประมาณของการฝึกอบรมจะถูกตัดลงไปจนไม่เหลือสักบาท เราก็ยังสามารถที่จะพัฒนาพนักงานในองค์กรได้ด้วยวิธีการอื่นๆ วิธีการเหล่านั้นมีอะไรบ้าง ลองมาดูกันนะครับ
  • On the Job Training วิธีแรกที่ไม่ต้องเสียเงินงบประมาณเลยก็คือ การอบรมแบบทำงานไปด้วย ก็คือ ให้พนักงานที่ทำงานได้รับการฝึกอบรมการทำงานที่หน้างานเลย เรียนรู้วิธีการทำงานไปพร้อมกับการทำงานจริงๆ ซึ่งปกติแล้ว OJT เรามักจะทำกันช่วงที่พนักงานเข้าทำงานกันใหม่ๆ แต่จริงๆ แล้วก็ไม่จำเป็น เพราะเราสามารถประยุกต์ใช้วิธีการนี้ในการพัฒนาพนักงานที่ประสบการณ์ในการทำงานมาแล้วก็ได้เช่นกัน
  • Internal Training เป็นการฝึกอบรมภายใน โดยใช้พนักงานที่มีความรู้ความสามารถในเรื่องนั้นๆ หรือ พนักงานที่มีความสามารถในการเป็นวิทยากรภายในได้ มาเป็นผู้ออกแบบหลักสูตร และให้ความรู้แก่พนักงานภายในบริษัท ซึ่งวิธีการนี้ปัจจุบันหลายองค์กรก็ใช้กันอย่างแพร่หลาย บางหลักสูตรก็ให้พนักงาน หรือวิทยากรภายในคนนี้ ไปศึกษา และเรียนรู้วิธีการที่ถูกต้องมาก่อน จากนั้นก็ให้เขาเป็นผู้ออกแบบ และทำหลักสูตร จากนั้นก็เริ่มวางแผนในการอบรม วิธีนี้ใช้งบประมาณในการอบรมน้อยมาก ถ้าจะมี ก็เป็นงบที่ส่งพนักงานที่เป็นวิทยากรภายในไปอบรมภายนอกมากกว่า แต่จริงๆ ก็ยังมีอีกหลายวิธีที่สามารถเรียนรู้ได้ เพื่อนำความรู้นั้นมาถ่ายทอดต่อกันภายในองค์กร
  • Coacoaching puzzleching วิธีการนี้ เป็นอีกวิธีหนึ่งที่นิยมกันมากขึ้น เป็นวิธีการพัฒนาพนักงานรายบุคคลที่ดี วิธีการก็คือ คนที่เป็นผู้จัดการ หรือหัวหน้างาน สามารถทำตัวเป็น Coach เพื่อสอนแนะการทำงานให้กับลูกน้อง เรื่องของการ Coach นั้นจะไม่เหมือนกับการ on the job training ตรงที่ การ Coach จะต้องมีการกำหนดเรื่องที่จะโค้ช และต้องมีการวางแผนการโค้ชแบบตัวต่อตัว กับพนักงานคนที่เราต้องการจะพัฒนาด้วยวิธีการนี้ ซึ่งถ้าเราทำกันภายในองค์กรก็มักจะเป็นการให้หัวหน้างานโดยตรงเป็นคนโค้ชลูกน้องตนเอง หรือถ้าจะให้ลึกขึ้นกว่านี้ ก็คือ หาพนักงานที่เป็นคนที่มีความรู้ความสามารถ มีบารมี มีประสบการณ์มากพอ เป็นโค้ชภายในองค์กร และทำหน้าที่โค้ชพนักงานภายใน โดยมุ่งเน้นไปที่พนักงานที่เป็น talent ก่อนเลยก็ได้ ด้วยวิธีการโค้ช จะทำให้พนักงานมีพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงไปในทางที่เราต้องการ และทำให้พนักงานมีความมั่นใจและมีความสามารถที่โดดเด่นขึ้นได้อย่างเห็นได้ชัด ถ้าเราโค้ชเขาได้อย่างถูกทาง
  • Self-Development การพัฒนาตนเอง เป็นวิธีการพัฒนาพนักงานโดยให้ตัวพนักงานเองพัฒนาตนเอง ซึ่งวิธีการส่วนใหญ่ก็คือ การมอบหมายให้ไปอ่านหนังสือเรื่องต่างๆ ที่ต้องการให้พัฒนา แล้วก็นัดประชุม เพื่อให้พนักงานคนนั้นมาเล่าให้ฟังว่า ที่อ่านมานั้นได้อะไรบ้าง และจะเอามาพัฒนาการทำงานของตนได้อย่างไรบ้าง
  • Job Assignment การมอบหมายงาน เป็นวิธีการพัฒนาพนักงานอีกวิธีหนึ่งที่ไม่ต้องใช้เงินงบประมาณอะไรเลย เพียงแต่คนที่เป็นหัวหน้าจะต้องมีทักษะในการมอบหมายงาน และทักษะในการบริหารจัดการการทำงานของลูกน้องได้ดี เราสามารถมอบหมายงานที่ท้าทาย ให้กับลูกน้องของตนเองได้ และร่วมกันวางแผนการทำงาน จากนั้นก็ปล่อยให้ไปดำเนินการ และให้มีการประชุมเพื่อทราบความคืบหน้าเป็นระยะๆ ที่สำคัญก็คือ เวลาที่มีการประชุมติดตามงานกัน ก็ให้สอบถามพนักงานเสมอว่า มีปัญหาอะไร แก้ไขอย่างไร และได้เรียนรู้อะไรบ้าง ฯลฯ ซึ่งถือว่าเป็นการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในการทำงานจริงๆ ร่วมกัน ก็ถือเป็นการเรียนรู้และการพัฒนาพนักงานที่ดีได้อีกทางหนึ่ง
จะเห็นว่าแม้ว่างบประมาณในการฝึกอบรมของบริษัทถูกตัดไป แต่เราก็ยังสามารถที่จะพัฒนาพนักงานได้ และวิธีการพัฒนาพนักงานข้างต้นเป็นวิธีการที่ได้ผลมากกว่าการส่งพนักงานไปฝึกอบรมภายนอกเสียอีก ถ้าเราทำกันอย่างถูกต้อง
ไม่มีเงินก็ยังสามารถพัฒนาพนักงานได้ครับขอให้มีความตั้งใจและมีเจตนาที่จะพัฒนาจริงๆ

วันอาทิตย์ที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

ไก่ต้มน้ำปลาสูตรโบราณ

ไก่สด 1 ตัว ไก่บ้านหรือไก่ตอน
(และส่วนต่างๆของไก่ส่วนต่าง ๆ ตามชอบ)
รากผักชีทุบ 2 ราก
ข่าหั่นแว่น 3 แว่น
ตะไคร้ทุบ 2 ต้น
ใบมะกรูด 3 ใบ
น้ำตาลปี๊บ 1 ช้อนโต๊ะ
น้ำปลา 1 ถ้วย
ซอสปรุงรส 1 ถ้วย
ซีอิ๊วดำ 1 ช้อนโต๊ะ
น้ำสำหรับต้ม

วิธีทำ

1. ล้างไก่ให้สะอาด เตรียมไว้

2. ใส่น้ำลงในหม้อ นำไก่ลงไปลวกจนหนังไก่ตึง ตักขึ้นสะเด็ดน้ำ เตรียมไว้

3. ใส่รากผักชี ข่า ตะไคร้ ใบมะกรูด และน้ำตาลปี๊บลงก้นหม้อ วางไก่ทับลงไป เติมน้ำปลา ซอสปรุงรส และซีอิ๊วดำ เทน้ำตามลงไปพอให้ท่วมตัวไก่ ปิดฝา ต้มด้วยไฟอ่อน นานประมาณ 30 นาที – 1 ชั่วโมง (ตามขนาดของไก่) จนสุกทั่ว ตักขึ้นสะเด็ดน้ำ ตัดเป็นชิ้นใส่จาน เสิร์ฟพร้อมน้ำจิ้มสูตรโบราณ

ส่วนผสม (น้ำจิ้มสูตรโบราณ)

พริกขี้หนู ปริมาณตามชอบ
กระเทียม 5 กลีบ
เกลือป่น สำหรับปรุงรส
น้ำส้มสายชู 1 ถ้วย
น้ำตาลปี๊บ 1 ช้อนชา

วิธีทำ

โขลกพริกขี้หนู กระเทียม และเกลือป่นพอหยาบ เติมน้ำส้มสายชู และน้ำตาลปี๊บลงไป คนผสมให้ละลายเข้ากัน ชิมรสตามชอบ ตักใส่ถ้วย เสิร์ฟพร้อมไก่ต้มน้ำปลา

ไก่เป็นไก่ต้มน้ำปลาสูตรนี้ทำง่ายทำขายได้ทำทานเองก็ อร่อยด้วย

วันเสาร์ที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

ท่านอนอันตราย

ท่านอนอันตราย


มนุษย์ใช้เวลานอนนานถึงหนึ่งในสามส่วนของอายุขัย กล่าวคือ

ปกติคนเราจะนอนวันละประมาณ 8 ชั่วโมง

ทารกเกิดใหม่อาจนอนมากกว่า 12 ชั่วโมง

เด็กนอนวันละ 10-12 ชั่วโมง

ผู้ใหญ่นอน 8-10 ชั่วโมง

และเมื่อมีอายุมากขึ้นเวลานอน จะน้อยลงตามลำดับ

การนอนเป็นการพักผ่อนกล้ามเนื้อที่ใช้งานมาตลอดวัน อิริยาบถต่าง ๆ ล้วนใช้กล้ามเนื้อเพื่อต่อสู้กับแรงโน้มถ่วงของโลก
การนอนจึงเป็นท่าที่กล้ามเนื้อได้ผ่อนคลาย และเป็นช่วงที่อวัยวะต่าง ๆ ทำการซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ สร้างสารต่าง ๆ ที่ถูกใช้หมดไปกลับคืนมาเตรียมตัวที่จะทำงานใหม่ เมื่อตื่นนอน

ในยามนอนหลับ สมองจะสร้างสารสื่อและสารช่วยความจำ ระบบภูมิคุ้มกันจะสร้างสารภูมิคุ้มกัน ระบบต่อมไร้ท่อจะสร้างฮอร์โมน การนอนจึงมีความสำคัญมากต่อการดำรงชีวิตที่มีสุขภาพดีทั้งร่างกายและจิตใจ

ในกรณีที่นอนไม่หลับตลอดคืน หรือถูกปลุกให้ตื่นตลอดเวลา ไม่ช้าไม่นานคน ๆ นั้นจะมีสภาพจิตที่ไม่ปกติ กล้ามเนื้อจะปวดเมื่อย เกร็งแข็ง และกินอาหารไม่ได้
ถึงแม้การนอนจะมีความสำคัญมาก แต่การนอนในสภาพแวดล้อมที่ไม่ดี นอนในสถานการณ์ที่ไม่ควรนอน หรือท่านอนที่ไม่เหมาะสมกับสุขภาพของบุคคลผู้นั้น อาจทำให้เป็นโรคหรือผู้ที่เป็นโรคอยู่แล้วอาจทำให้สูญเสียชีวิตจากท่านอนที่ผิดได้
นอนในท่านั่ง

893255-img.rbw3t0.0p


อุบัติเหตุทางรถยนต์หลาย ๆ รายเกิดจากการที่คนขับหลับใน ในเวลาที่นั่งขับรถอยู่ นอกจากนี้การนั่งหลับในรถเมล์จากสภาพจารจรที่ติดขัด หรือนั่งรถในเวลากลางคืน มักจะทำให้เกิดอาการปวดร้าวไปทั่วร่างกาย เนื่องจากร่างกายยังอยู่ในสภาพต่อต้านแรงโน้มถ่วงของโลก อาการที่พบบ่อยคือปวดคอ กระดูกคอเคลื่อนเมื่อรถหยุดกะทันหัน ปวดหลัง มือชา ขาชา มือบวม ขาบวม และปวดข้อเข่า ปวดหัว มึนศีรษะ เมารถ และมีบางรายหน้ามืด เป็นลมได้ เพราะนอกจากเลือดจะสูบฉีดขึ้นสมองไม่พอแล้วในบรรดารถปรับอากาศประจำทาง อากาศที่มาจากช่องลมไม่บริสุทธิ์ ถ้าจำเป็นต้องเดินทางไกลควรมีปลอกคอค้ำไว้ หรือเอาผ้าพันคออย่างหนา เช่น ผ้าขนหนูพันรอบคอไว้ ซึ่งนอกจากจะช่วยไม่ให้คอตก และถูกกระชากเวลานอนหลับแล้วยังรักษาความอบอุ่นของร่างกายได้

ควรใส่ถุงน่องรัดขาไว้เพื่อให้เลือดคั่งที่ขาน้อยลง ในกรณีที่ปรับที่นั่งให้เอนลงได้ ควรยกขาขึ้นไม่ให้ห้อยลงตลอดเวลา


ปัจจุบันเกือบเป็นปกติวิสัยที่คนเรามักเฝ้าดูโทรทัศน์จนหลับไปทั้ง ๆ ที่ยังอยู่ในท่านั่ง ทำให้เกิดอาการปวดต้นคอ ปวดหลัง และเจ็บก้นกบได้

อีกกรณีที่พบบ่อยคือคนเมาเหล้ามักจะนอนหลับไปขณะนั่งอยู่ และแขนอาจจะห้อยลงจากพนักพิงของเก้าอี้ โดยที่รักแร้วางทับอยู่กับสันของพนักเก้าอี้นั้น พอตื่นนอนพบว่าแขนข้างนั้นชาจนไม่มีความรู้สึก และบางครั้งก็ยกแขนไม่ขึ้นเป็นเวลานานหลายวัน เพราะกดถูกหลอดเลือดและเส้นประสาทใต้รักแร้ ทำให้แขนขางนั้นอ่อนแรงลง และสูญเสียความรู้สึกไป ในรายที่รุนแรงมากอาจเป็นอัมพาตของแขนข้างนั้นไปเลย

การนอนหลับในท่านั่ง จึงเป็นท่าที่อันตรายควรหลีกเลี่ยงอย่างยิ่ง

นอนหงาย

893255-img.rbw3t0.2p


ปกตินอนหงายเป็นท่านอนที่คนปกตินิยมนอน ข้อดีคือต้นคอจะอยู่ในแนวเดียวกับร่างกายถ้าไม่หนุนหมอน หรือใช้หมอนต่ำ แต่ถ้าใช้หมอนสูง 2-3 ใบ จะทำให้คอก้มมาข้างหน้าทำให้ปวดคอได้ในท่านอนหงายกะบังลมที่คั่นระหว่างช่องอกและช่องท้องจะทับอยู่บนปอด ทำให้การหายใจค่อนข้างลำบากเมื่อเทียบกับท่านั่ง จึงไม่เหมาะสมกับผู้ที่มีโรคปอด ซึ่งควรหลีกเลี่ยงได้โดยยกส่วนบนของร่างกายให้สูงขึ้นในลักษณะครึ่งนอนครึ่งนั่ง โดยใช้หมอน 2-3 ใบวางรองด้านหลังไว้ หรือยกพื้นเตียงส่วนบนให้สูงขึ้น
893255-img.rbw3t0.3p
ผู้ที่ความดันสูงอาจหายใจลำบากในท่านอนหงาย โดยเฉพาะผู้ที่เป็นโรคหัวใจ การทำงานของหัวใจ จะลำบากในท่านอนหงายราบ เพราะไม่สามารถสูบฉีดเลือดออกจากหัวใจได้ เกิดภาวะหายใจขัด คนที่เป็นโรคหัวใจมักจะต้องลุกขึ้นนั่งหรือยืน จึงหายใจสะดวกขึ้น

พนักงานที่ดีขององค์กร เป็นอย่างไร

พนักงานที่ดีขององค์กร เป็นอย่างไร

bademployees
เมื่อวานได้เขียนเรื่องราวเกี่ยวกับหัวหน้างานที่พนักงานไม่อยากทำงานด้วย ก็มีผู้อ่านหลายท่านได้ให้ความเห็นว่า มองมุมเดียวก็ไม่ดี ซึ่งผมเองก็เห็นด้วยครับว่า หัวหน้างานเองก็อยากที่จะมีลูกน้องที่ดีด้วยเช่นกัน และบางทีการที่หัวหน้าคนนั้นกลายเป็นหัวหน้าที่มีพฤติกรรมที่ไม่ดีก็อาจจะมีสาเหตุมาจาก มีลูกน้องที่ไม่ดีก็เป็นไปได้เช่นกัน
แล้วพนักงานที่ดีที่องค์กรอยากได้ หัวหน้างานอยากมี ต้องมีคุณสมบัติอย่างไรบ้าง เรื่องนี้ปกติก็ไม่ค่อยมีใครเขาพูดหรือเขียนให้อ่านกันมากสักเท่าไหร่ ก็เลยลองรวบรวมจากความคิดเห็นของเหล่าหัวหน้างานที่ผมเคยพูดคุยและได้เก็บข้อมูลด้วยคำถามที่ว่า “ถ้าเป็นไปได้ เราอยากให้ลูกน้องเรามีคุณสมบัติอย่างไรบ้าง” และนี่ก็คือ คำตอบที่ได้มาครับ
  • มีทัศนคติที่ดีในการทำงาน อันดับแรกที่หัวหน้างานเกือบ 100% ตอบมาก็คือ หัวหน้างานอยากได้ลูกน้องที่มีทัศคติในการทำงานที่ดี มองโลกในแง่ดี เปิดใจยอมรับในสิ่งที่ไม่ถูกต้องและยินดีแก้ไขให้ถูกต้อง
  • มีความรับผิดชอบ อันดับที่สอง ที่หัวหน้างานส่วนใหญ่อยากได้ ก็คือ ลูกน้องที่มีความรับผิดชอบ แปลง่าย ก็คือ รับมอบหมายงานมาแล้ว ก็ต้องทำให้ได้ตามที่ตกลงกันไว้ รู้ว่าหน้าที่ของตนเองที่จะต้องทำให้สำเร็จคืออะไร และลงมือทำงานให้เสร็จตามที่ได้รับมอบหมาย
  • มีความมุ่งมั่นตั้งใจ อันดับที่สามก็คือ อยากได้ลูกน้องที่มีความมุ่งมั่น ไม่ย่อท้อต่อปัญหาและอุปสรรคในการทำงาน เวลาที่งานมีปัญหา ก็พยายามหาแนวทางในการแก้ไขปัญหา โดยไม่มานั่งบ่นท้อแท้ ถอดใจ แล้วก็พาลไม่ยอมทำงาน
  • คิดหาแนวทางใหม่ๆ ในการทำงาน อันดับที่ 4 ที่หัวหน้างานให้ความเห็นก็คือ อยากได้ลูกน้องที่มีความคิดต่อยอดในการทำงาน ซึ่งอาจจะไม่ใช่ความคิดสร้างสรรค์ในแนวของการคิดใหม่ๆ แต่ให้มีความคิดที่จะพัฒนา และต่อยอดงานที่ทำอยู่ให้ดีขึ้นอยู่เสมอ ไม่ใช่ทำอะไรแบบไหน ก็ทำไปแบบนั้น เวลาผ่านไปก็ยังคงทำแบบเดิมๆ ไม่มีการพัฒนาหรือเสนอแนวทางที่ดีขึ้น
  • มีน้ำใจ อันดับที่ 5 ก็คือ อยากได้ลูกน้องที่มีน้ำใจ เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ไม่เห็นแก่ตัว ไม่ว่าจะเป็นเรื่องงาน หรือเรื่องส่วนตัวในการทำงาน เวลาที่เสร็จงานของตัวเอง ก็ไปช่วยเพื่อนๆ ทำงานอย่างอื่น โดยเสนอตัวเอง แบบไม่ต้องให้คนอื่นต้องมาเรียก มองผลประโยชน์ของบริษัท ของทีม เป็นที่ตั้ง
นี่คือ 5 อันดับที่ผมเก็บข้อมูลมาได้ ซึ่งอาจจะตรง หรือไม่ตรงกับความคิดของท่านผู้อ่านนะครับ แต่หัวหน้าส่วนใหญ่อยากได้ลูกน้องแบบนี้กันทั้งนั้น ประเด็นก็คือ เราจะทำอย่างไรที่จะได้ลูกน้องแบบนี้เข้ามาทำงานด้วย
  • ต้องมีการกำหนดพฤติกรรมและคุณสมบัติของพนักงานที่ดีของบริษัทไว้ให้ชัดเจน ซึ่งจริงๆ เรื่องนี้ก็คือ การกำหนด core value หรือ Core competency ของพนักงานที่จะมาทำงานกับบริษัทนั่นเอง
  • คัดเลือกพนักงานให้ได้ตาม Competency ที่กำหนดไว้ สิ่งที่ต้องทำให้ได้ก็คือ การเลือกพนักงานให้ได้ตาม Competency ที่เรากำหนดไว้ โดยมีการกำหนดวิธีการ แบบทดสอบ คำถามในการสัมภาษณ์ ฯลฯ เพื่อให้ได้คนในแบบที่เราต้องการ ไม่ใช่แค่มีการกำหนด Competency ไว้โก้ๆ แต่ไม่เคยเอามาใช้ในการบริหารคนเลย
  • พัฒนาพนักงานที่มีอยู่ ให้มีพฤติกรรมหลักตาม Competency ที่กำหนดไว้ และเอามาใช้ในการประเมินผลงานด้วยยิ่งดี
ดังนั้น การที่บริษัทอยากมีพนักงานที่ดี คำว่าพนักงานที่ดี ก็จะมีความแตกต่างกันไปในแต่ละบริษัท เพราะแต่ละที่ย่อมต้องการคนที่มีพฤติกรรมที่แตกต่างกันออกไป พนักงานที่ดีของที่นี่ อาจจะไม่เหมาะกับอีกที่หนึ่งก็ได้ ดังนั้นการที่เราจะอบรมพนักงานของบริษัทว่า พนักงานที่ดีนั้นจะต้องมีคุณสมบัติอย่างไรนั้น ก็ต้องอาศัย Core Competency ของบริษัทเราเองเป็นตัวตั้งต้นก่อน แล้วก็ออกแบบหลักสูตรมาเพื่อที่สอนพนักงานว่า ถ้าเราอยากจะเป็นพนักงานที่ดีของที่นี่ จะต้องทำตัวอย่างไร และต้องมีพฤติกรรมอย่างไร
แล้วเราก็จะมีแนวทางในการสร้างและพัฒนาพนักงานที่ดีในแบบของบริษัทเราได้ เมื่อเราได้พนักงานที่ดี หัวหน้างานก็จะใช้ทักษะในการเป็นหัวหน้างานได้อย่างดี จากนั้นหัวหน้ากับลูกน้องก็จะอยู่ทำงานด้วยกันอย่างมีความสุขตลอดไป (เหมือนนิยาย แต่ก็เป็นเรื่องที่เป็นไปได้นะครับ)