คุณ พชรพล พิมสาร (เกิดวันเสาร์ )พ [อายุ] - เกี่ยวข้องกับสุขภาพร่างกาย การดำเนินชีวิต ช [มนตรี] - เกี่ยวข้องผู้อุปถัมภ์ค้ำชู หรือต้องได้รับความช่วยเหลือจากผู้อื่น ร [เดช] - เกี่ยวข้องกับอำนาจ บารมี ตำแหน่งหน้าที่ การงาน พ [อายุ] - เกี่ยวข้องกับสุขภาพร่างกาย การดำเนินชีวิต ล [เดช] - เกี่ยวข้องกับอำนาจ บารมี ตำแหน่งหน้าที่ การงาน พ [อายุ] - เกี่ยวข้องกับสุขภาพร่างกาย การดำเนินชีวิต ิ [มูลละ] - เกี่ยวข้องบ้านเรือน อสังหาริมทรัพย์ มรดก ฐานะมั่นคง ม [อายุ] - เกี่ยวข้องกับสุขภาพร่างกาย การดำเนินชีวิต ส [ศรี] - เกี่ขวข้องกับหลักทรัพย์ เงินทอง และโชคลาภ า [มูลละ] - เกี่ยวข้องบ้านเรือน อสังหาริมทรัพย์ มรดก ฐานะมั่นคง ร [เดช] - เกี่ยวข้องกับอำนาจ บารมี ตำแหน่งหน้าที่ การงาน
ผลการคำนวนทางโหรศาสตร์ ความเป็นมงคล มีค่าเท่ากับ 10 เต็ม
10
| ||||
ผลการวิเคราะห์เพิ่มเติม ผู้ที่ชื่อ พชรพล พิมสาร เกิดวันเสาร์ เป็นคน มีจินตนาการกว้างไกล อ่อนโยน ชอบเล่นกีฬา ทุ่มเททุกอย่างให้งาน ชอบดูหนัง มีสไตล์เป็นของตัวเอง เห็นอกเห็นใจ.........................................................................
|
วันจันทร์ที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2556
ชื่อลูกสาวคนแรก
| ||
วันศุกร์ที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2556
ฝึกอบรมแบบไหนดีกว่ากัน
เมษายน 12, 2013 โดย wachirapong

เรื่องของการฝึกอบรม ก็ยังคงเป็นแนวทางในการพัฒนาพนักงานที่ทุกองค์กรใช้อยู่ในปัจจุบัน เป็นวิธีการพัฒนาพนักงานที่ได้ความนิยมอย่างมาก เพราะเมื่อไหร่ที่คิดถึงเรื่องของการพัฒนาพนักงาน การฝึกอบรมก็จะต้องถูกคิดถึงก่อนเป็นเรื่องแรก และแนวโน้มของวิธีการฝึกอบรมก็เริ่มเปลี่ยนแปลงมากขึ้นในยุคปัจจุบัน เริ่มมีเทคนิคต่างๆ มีลูกเล่น มีกิจกรรมประกอบการฝึกอบรม เพื่อทำให้ผู้เข้าอบรม เกิดความเข้าใจ และไม่เบื่อ
แต่ระยะหลังๆ สิ่งที่ผมในฐานะที่เป็นวิทยากรคนหนึ่ง ที่มักจะได้รับความต้องการของลูกค้าที่ต้องการฝึกอบรมติดต่อเข้ามาที่บริษัท สิ่งที่ผมได้ยินมาค่อนข้างมาก็คือ
“หลักสูตรที่ต้องการจัดทุกหลักสูตร ของอาจารย์ที่พูดได้ฮาๆ เลย เอาแบบขำกลิ้งได้ยิ่งดี” หรือ
“อาจารย์ที่สอนตลกมั้ย ถ้าไม่ตลกไม่เอานะ” หรือ
“เนื้อหาไม่เน้น เน้นฮา”
ฯลฯ
ไม่ทราบว่าท่านผู้อ่านคิดอย่างไรกับคำพูดเหล่านี้ที่เป็นความต้องการของคนที่ต้องการจัดฝึกอบรม เพื่อสร้างความรู้และทักษะให้กับพนักงาน
จากประสบการณ์ที่ผมเองก็เคยเป็นผู้ถูกฝึกอบรม และถูกส่งไปเข้าเรียนในหลักสูตรต่างๆ สิ่งที่เคยพบเจอมาก็มีดังนี้
- เข้าเรียนในหลักสูตรการเป็นหัวหน้างานที่ดี วิทยากรพูดได้สนุก ฮามากมาย มีเรื่องตลกมาเล่าให้ฟังอยู่ตลอดเวลา แต่พอเรียนจบ เราก็มานั่งทบทวนดูว่าเราได้อะไรกลับมาบ้าง เมื่อเทียบกับวัตถุประสงค์ที่ไปเข้าเรียน ปรากฏว่า ไม่ได้อะไรกลับมาเลยครับ
- เข้าเรียนในหลักสูตรที่เข้มข้นมาก มีหลักการทางวิชาการมากมาย มีแบบทดสอบ มีแบบฝึกหัด มีกรณีศึกษาให้คิด เวลาเรียนไม่ค่อยสนุกหรอกครับ เพราะมีแต่เรื่องราวทางวิชาการต่างๆ แต่พอกลับมาทำงาน กลับรู้สึกว่า ได้อะไรมามากมายสำหรับการทำงาน และการต่อยอดการทำงานของตนเองให้ดีขึ้นได้อีกเยอะเลย
- เข้าเรียนในหลักสูตรที่มีเนื้อหาที่เข้มข้น และมีกรณีศึกษาที่ชัดเจน และวิทยากรก็สามารถบรรยายได้อย่างสนุกน่าฟัง ไม่ออกนอกเรื่อง ตัวอย่างที่ยก ก็สอดคล้องกับเนื้อหาที่เรียน พอกลับมา ก็ถือว่าได้ทั้งความรู้และความเข้าใจอย่างชัดเจนด้วยกรณีศึกษา และตัวอย่างที่ผู้บรรยายยกมาให้ฟัง
ผมเชื่อว่าส่วนใหญ่จะชอบแบบที่ 3 แต่วิทยากรและหลักสูตรในแบบที่ 3 นี่หายากมากครับ บางครั้งหาได้แต่ราคาที่เสนอมาก็สูงหน่อยซึ่งบริษัทอาจจะไม่มีงบประมาณมากพอ ก็เลยกลายเป็นว่าเลือกแบบที่ 1 ดีกว่า เพราะฮาดี ค่าตัววิทยากรก็ไม่แพงนัก แถมผู้เรียนยังประเมินให้กับฝ่ายฝึกอบรมว่าจัดอบรมหลักสูตรได้ตลกดีอีกด้วย พนักงานส่วนใหญ่ก็ชอบ
แต่ความรู้ล่ะครับ เป้าหมายของการฝึกอบรมก็คือการเพิ่มทักษะและความรู้ให้กับพนักงาน แต่การอบรมแบบที่ 1 นั้น บริษัทเสียเงิน แล้วถามว่าได้อะไรกลับมาบ้าง เรื่องนี้จะต้องพิจารณาให้ดีนะครับ เนื่องจากในระยะนี้ และในอนาคตข้างหน้า เรื่องของการบริหารต้นทุน และการบริหารเงินลงทุนต่างๆ นั้น จะต้องมีผลตอบแทนมากขึ้น จะต้องคุ้มค่ามากขึ้น และตอบวัตถุประสงค์ที่ต้องการได้มากขึ้นด้วย
ผมคิดว่าการที่เราจะเลือกแนวทางในการฝึกอบรมว่า จะเป็นแนวไหนดี วิชาการ ตลกไปเลย หรืออย่างไรดีนั้น คงต้องขึ้นอยู่กับตัวหลักสูตรที่เราต้องการจะจัดด้วย บางหลักสูตรมันตลกไม่ได้จริงๆ แต่สามารถที่จะหากรณีศึกษามาเล่าให้เข้าใจและเห็นภาพได้ชัดเจน บางหลักสูตรอาจจะตลกได้
สิ่งที่ต้องกำหนดให้ชัดเจนก็คือ หลักสูตรที่จะอบรมนั้น อบรมไปแล้วจะได้อะไร แล้วก็คงต้องวัดผลกันจริงๆ จังๆ ว่าได้ตามที่วัตถุประสงค์กำหนดไว้หรือเปล่า
แล้วท่านผู้อ่านละครับ คิดว่าจะอบรมกันแนวไหนดีกว่ากันครับ
5 วิธีง่ายๆ ที่ทำให้คุณเป็นคนมองโลกในแง่ดี
เมษายน 19, 2013 โดย wachirapog
![]() |
จากวันนั้นถึงวันนี้ ก็ 15ปีเต็ม |

โลกปัจจุบันที่เราอยู่นั้น มีแต่ความวุ่นวาย เราต้องแข่งขันทั้งในชีวิตส่วนตัว และชีวิตการทำงาน ซึ่งเป็นผลทำให้เกิดความเครียดขึ้น และความเครียดนี้เอง ที่ส่งผลต่อทั้งความคิด สมอง ร่างกาย และจิตใจของเราในทุกด้าน ส่วนใหญ่เป็นผลในแง่ลบทั้งสิ้น ดังนั้นการที่เราสามารถมองโลกในแง่ดี คิดดี ในสภาวะที่มีแต่ความวุ่นวายแบบนี้ จะทำให้ชีวิตเราดีขึ้นได้อย่างแน่นอน ทั้งสุขภาพกาย และสุขภาพจิต
วันนี้จะเอาเคล็ดลับ 5 วิธีที่จะทำให้เราเป็นคนมองโลกในแง่ดี คิดดี เพื่อที่จะทำให้ความเครียดในชีวิตของเราลดลงไปบ้าง ลองมาดูกันนะครับว่ามีอะไรบ้าง
- ขอบคุณทุกสิ่งทุกอย่างที่เข้ามาในชีวิต แม้ว่าเรื่องนั้นจะเป็นเรื่องของความเจ็บปวดของชีวิตก็ตาม ทุกเช้าที่ตื่นขึ้นมา ให้นึกถึงว่าเราได้ของขวัญที่ดีของชีวิตทุกวันที่ทำให้เรายังตื่นขึ้นมาได้ ให้รู้สึกถึงความสดชื่นของชีวิต แต่เอาเข้าจริงๆ ท่านผู้อ่านอาจจะคิดว่า โอว จะคิดอะไรได้อย่างไร วันนี้มีงานเข้ามากมาย นายก็ตามงาน ฯลฯ วิธีที่ช่วยได้ ก็คือ ให้คิดถึงคนที่กำลังเดินหางานอยู่สิครับ และคนที่พยายามที่จะได้งานที่คุณกำลังทำอยู่ก็ได้ หรือบางคนอาจจะคิดว่า ไม่อยากตื่นขึ้นมาเจอใครบางคนที่เมื่อคืนเพิ่งจะทะเลาะกันไปเลย แบบนี้จะให้ขอบคุณได้อย่างไร วิธีคิดเชิงบวก ก็คือ ลองนึกถึงเพื่อนที่ยังไม่มีแฟน และพยายามทุกทางที่จะหาแฟนสิครับ นี่คือสิ่งที่มีค่าที่เราได้มาอยู่ในมือแล้ว ดังนั้นจงขอบคุณในสิ่งที่เรามี เราเป็น รวมถึงความผิดหวังต่างๆ ที่เกิดขึ้น ที่ทำให้เราแข็งแกร่งขึ้นจนทุกวันนี้
- สร้างอารมณ์ขันให้กับชีวิต พยายามมองทุกเรื่องที่เข้ามาในชีวิตของเราให้เป็นเรื่องสนุก และยิ้มให้กับเรื่องราวต่างๆ ที่เกิดขึ้น มองมุมที่ดีของเรื่องนั้นๆ เนื่องจากอารมณ์ขันนั้น มีข้อพิสูจน์มาแล้วว่าช่วยทำให้คนป่วยโรคร้ายแรงต่างๆ หาย หรือดีขึ้นมาก ดังนั้นเรายังไม่ป่วย ก็ยิ่งจะทำให้เรารู้สึกดีขึ้นเช่นกัน ดังนั้น ตั้งสติให้ดี เวลาที่พบเจอกับสิ่งที่ดี หรือไม่ดีก็ตาม ให้ยิ้มให้กับมัน และสร้างอารมณ์ขันให้เกิดขึ้นกับชีวิตให้ได้มากที่สุด
- ทำให้มากกว่าพูด เพราะการที่เราลงมือทำงานอะไรก็ตาม จะทำให้เราพูดน้อยลง คิดมากขึ้น การที่เราพูดน้อยลงนั้นก็จะทำให้เรามีแนวโน้มที่จะวิพากษ์วิจารณ์คนอื่นน้อยลงด้วยเช่นกัน และการที่เราวิพากษ์วิจารณ์คนอื่นน้อยลง ก็แปลว่า เรามองโลกแง่ร้ายน้อยลงเช่นกัน เพราะโดยทั่วไปธรรมชาติของคนเรานั้น ชอบพูดมากกว่าทำ ดังนั้น เมื่อไหร่ที่เราเปิดปากพูด บางครั้งก็อดไม่ได้ที่จะคิด และมองคนอื่น หรือสิ่งต่างๆ รอบตัวในเชิงวิพากษ์วิจารณ์ ซึ่งเมื่อไหร่ที่เป็นการวิพากษ์วิจารณ์ เมื่อนั้นก็จะมีแต่เรื่องในแง่ลบ ซึ่งจะทำให้เรามองโลกในเชิงลบไปด้วย
- จงสนุกกับกิจกรรมต่างๆ ไม่ว่าผลจะเป็นอย่างไรก็ตาม การที่เราคาดหวังสิ่งต่างๆ ว่าจะต้องเกิดขึ้นจากสิ่งที่เราลงมือทำนั้น จะทำให้เราเกิดความเครียดมากขึ้น ก็กลายเป็นว่าเราเลือกทำในสิ่งที่คิดว่าจะเกิดผลที่ดีกับเรา และไม่ทำในสิ่งที่เราคิดว่าจะไม่เกิดผลที่ดีกับเรา แม้ว่าสิ่งนั้นจะเป็นสิ่งที่เราชอบก็ตาม เหมือนกับ Mark Twain ที่กล่าวว่า “จากนี้ต่อไปอีก 20 ปีข้างหน้า เราจะรู้สึกผิดหวังกับสิ่งที่เราไม่ได้ทำมากกว่าสิ่งที่เราทำลงไปในวันนี้” ดังนั้นถ้าคิดว่าทำแล้วมีความสุข และไม่ทำให้ใครเดือดร้อน ก็จงลงมือทำ โดยไม่ต้องไปคาดหวังผลลัพธ์อะไรเลย ชีวิตเรานั้นสั้นมากครับ ดังนั้นจงหาความสุขไปกับสิ่งที่เราทำจะดีกว่า ไปเครียดกับความคาดหวังที่อยากให้เป็น หรือไม่อยากให้เป็น
- จงช่วยให้ผู้อื่นมีความสุข การที่จะทำให้เราเป็นคนคิดบวก ทำบวก นั้น อีกเรื่องง่ายๆ ที่ช่วยเราได้ก็คือ การได้ช่วยคนอื่นให้มีชีวิตที่ดีขึ้น หรือมีความสุขมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นคนในครอบครัว หรือ ในองค์กรที่เราทำงานด้วยก็ตาม เราสามารถช่วยเหลือบุคคลเหล่านี้ได้ และเมื่อไหร่ที่เราได้ช่วยคนอื่นให้ดีขึ้น ด้วยความเต็มใจและจริงใจแล้ว เราจะรู้สึกถึงความคิดเชิงบวก และรู้สึกถึงความสุขที่เกิดขึ้นในจิตใจของเรา ยิ่งไปกว่านั้น คนที่ช่วยเหลือคนอื่นมากขึ้นเท่าไหร่ ก็จะมีความสุขมากขึ้นเท่านั้นเช่นกันครับ และการช่วยทำให้คนอื่นมีความสุขนั้น จริงๆ ก็ไม่ต้องเสียเงินทองอะไรมากมาย บางครั้งแค่เพียงให้เวลารับฟังในสิ่งที่คนอื่นพูดอย่างเข้าใจ แค่นี้เขาก็รู้สึกแล้วว่า เรากำลังช่วยเหลือเขา ซึ่งจะทำให้เรามีความสุขมากขึ้นด้วย
บางท่านอ่านจบแล้ว คิดว่า “พูดง่าย แต่ทำยากนะ” แค่คิดแบบนี้ก็เท่ากับว่าเรามีทัศนคติเชิงลบแล้วครับ ดังนั้นจงคิดบวก และลงมือทำ ตั้งสติให้ดี แล้วค่อยๆ ทำไปทีละข้อ ย้ำนะครับ สติคือสิ่งที่สำคัญมากในการที่จะทำให้เราปรับทัศนคติเชิงลบ เป็นเชิงบวก
แล้วชีวิตของเราก็จะมีความสุขมากขึ้นอย่างแน่นอนครับ
พฤติกรรมที่ไม่ควรทำในการทำงาน
เมษายน 10, 2013 โดย wachirapong

ในยุคที่มีความเจริญก้าวหน้าของเทคโนโลยีอย่างก้าวกระโดดแบบนี้ ทำให้พฤติกรรมการทำงานของหลายๆ คนเปลี่ยนแปลงไป ซึ่งบางครั้งก็เป็นพฤติกรรมที่ไม่ค่อยเอื้อกับการทำงานที่ดี แต่เราก็มักจะเห็นพฤติกรรมเหล่านี้อยู่เสมอ บางคนอาจจะเห็นจนชินตาไปแล้ว แต่จริงๆ แล้วพฤติกรรมเหล่านี้ เป็นพฤติกรรที่ไม่ควรทำอย่างยิ่งในการทำงานของเรา ลองมาดูกันนะครับว่า พฤติกรรมที่ว่า มีอะไรบ้าง
- หยิบโทรศัพท์ขึ้นมากดๆ ขณะที่กำลังประชุม หรือคุยกับคนอื่นอยู่ ปัจจุบันนี้พฤติกรรมนี้เกิดขึ้นเยอะมาก เราจะเห็นจนชินตา ไม่ว่าจะเป็นระหว่างการประชุมที่บางครั้งพนักงานก็หยิบโทรศัพท์ขึ้นมา แล้วก็กดอย่างเมามัน โดยไม่สนใจเรื่องที่กำลังประชุมอยู่ หรือในระหว่างที่กำลังคุยงาน หรือสอนงาน พอโทรศัพท์ส่งสัญญาณออกมา ก็อดไม่ได้ที่จะต้องหยิบขึ้นมาอ่าน และพิมพ์ตอบกลับไป โดยไม่สนใจว่ากำลังทำอะไรอยู่กับใคร ผลของพฤติกรรมนี้ก็คือ ทำให้คนที่นำประชุม หรือคนที่กำลังคุยด้วยรู้สึกถึงการไม่ให้เกียรติ และไม่ใส่ใจในสิ่งที่กำลังทำ อีกทั้งยังทำให้ขาดสมาธิในการทำงานอีกด้วย
- ทำงานอย่างอื่นไปด้วยขณะที่กำลังประชุม เวลามีการประชุมในยุคนี้ พนักงานจะนำโน้ตบุ๊คคอมพิวเตอร์ติดตัวเข้าห้องประชุมด้วย พอมีเครื่องมือนี้อยู่ข้างหน้า ก็จะเริ่มไม่ฟัง และจะทำงานอย่างอื่น หรือไม่ก็นั่งดูอะไรไปตามเรื่องตามราว ซึ่งทำให้การประชุมขาดประสิทธิภาพ นอกจากการประชุมแล้ว ในการฝึกอบรมภายในองค์กรเอง ก็คล้ายๆ กัน พนักงานมักจะหิ้วคอมพิวเตอร์เข้ามานั่งอบรม แล้วก็กดๆ พิมพ์ๆ คลิ้กๆ ผลก็คือ การทำงานหลายๆ อย่างในเวลาเดียวกัน ก็คงไม่ได้ผลอะไรที่ดีเลย
- ตามงานลูกน้องตลอดเวลา เนื่องจากเทคโนโลยีการติดต่อสื่อสารที่ดีในยุคนี้ ทำให้คนเราออนไลน์ตลอด 24 ชั่วโมง และสามารถติดต่อได้ง่ายกว่าในสมัยก่อนที่ยังไม่แค่เพียงโทรศัพท์บ้านเพียงอย่างเดียว ก็เลยทำให้เกิดการติดต่อกันตลอดเวลา โดยเฉพาะหัวหน้างานบางคนที่ใช้เทคโนโลยีแบบนี้ในการติดตามงาน สั่งงาน ลูกน้อง บางคนตามงานลูกน้องเวลาตีสองตีสาม แบบว่าคิดอะไรได้ก็กดๆ ไป ไม่โทรตาม ก็ Line บ้าง หรือ whatsapp บ้าง ซึ่งทำให้พนักงานรู้สึกว่า เวลาส่วนตัวไม่เป็นส่วนตัว ต้องคอยระแวงว่านายจะตามงานมาเมื่อไหร่
- ระบายความอึดอัดเกี่ยวกับงานลงบน Facebook ปัจจุบันนี้คงไม่มีใครไม่รู้จัก Facebook ถ้าใช้ในทางที่เหมาะสมก็ดี แต่ก็มีหลายคนที่อาจจะใช้ในทางที่ไม่ค่อยเหมาะเท่าไหร่ ซึ่งส่งผลกระทบต่อตัวคนใช้งานเองได้อย่างแก้ไขได้ยากมาก พฤติกรรมของผู้ใช้งานที่เปลี่ยนแปลงไปก็คือ มีอะไรชอบ ไม่ชอบ คนรุ่นใหม่ก็มักจะต้องระบายใส่ในนี้ตลอดเวลา ไม่ชอบใจอะไร ก็จะใส่เข้าไป ชอบใจอะไรก็จะระบายลงไป ถ้าเรื่องที่ระบายเป็นเรื่องทั่วๆ ไป ก็โอเคนะครับ แต่ถ้าเป็นเรื่องของบริษัท ของงาน หรือของหัวหน้าตนเอง ที่เราไม่ชอบใจ แล้วเราก็ระบายใส่ลงไปนั้น ผลที่ตามมามันร้ายแรงเกินกว่าที่เราจะคาดคิดได้ เพราะถ้าบริษัทมาเห็นเข้า ก็เข้าข่ายผิดระเบียบเช่นกัน หลายบริษัทก็เริ่มมีการกำหนดระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับเรื่องพวกนี้ขึ้นมาอย่างเคร่งครัดเช่นกัน นอกจากนี้ เวลาบริษัทสรรหาพนักงาน บางบริษัทก็เข้าไปดูใน Facebook ของผู้สมัคร เพื่อดูพฤติกรรมว่าเป็นอย่างไร ถ้าเห็นว่ามีพฤติกรรมที่ด่าว่า ประชดประชัน บริษัทตัวเอง หรือนายตัวเอง ใครจะรับเข้าทำงานล่ะครับ
- เอากล้องโทรศัพท์ถ่ายรูปไปทั่ว อีกพฤติกรรมที่เป็นที่นิยมก็คือการถ่ายรูปจากโทรศัพท์มือถือ เวลาที่เจออะไรประทับใจ หรือไม่ประทับใจ ก็จะถ่ายรูปไว้ แล้วก็พร้อมที่จะลงให้คนอื่นได้เห็นตลอดเวลา บางครั้งมัวแต่ถ่ายรูป แล้วโพสขึ้น Social Network จนไม่ต้องทำงานอะไรกันเลยก็มี คนที่ถูกถ่ายเองก็อาจจะไม่รู้ตัว ซึ่งก็อาจจะเป็นการละเมิดสิทธิส่วนบุคคลกันได้เลย ถ้าเป็นต่างประเทศ การถ่ายรูปคนอื่นนั้น เขาฟ้องเราได้เลยนะครับ เพราะถือเป็นการละเมิดสิทธิส่วนบุคคลครับ เราอาจจะติดคุกได้
สิ่งเหล่านี้เราถือเป็นมารยาทในการทำงานร่วมกันกับผู้อื่นด้วยครับ ซึ่งปัจจุบันขาดการอบรมสั่งสอนกันอย่างมากเลยครับ ทำให้เวลาคนรุ่นใหม่เข้ามาทำงานก็จะมีพฤติกรรมที่คนรุ่นเดิมมองว่าไม่เหมาะสม ไม่ให้เกียรติซึ่งกันและกัน ฯลฯ และเป็นปัญหาความขัดแย้งในการทำงานตามมาอีกมากมาย
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)